เราคุยกันถึงเรื่อง ความเข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจกันของคนไข้และหมอ ซึ่งนำพา ความขัดแย้งและการฟ้องร้องให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนครับว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจาก นาย(คนไข้)เจ็บ เรา(หมอ) ก็เจ็บ
และประเด็นที่ทิ้งไว้ครั้งที่แล้วก็คือเรื่องของการสื่อสารนี่ละครับ ระหว่างหมอและคนไข้ซึ่งบางครั้งก็เกิดความขัดแย้งขึ้นได้โดยที่ จริงๆแล้วไปไปมามาก็ไม่ได้เป็นความผิดของใครเลย
งั้น เรามาต่อกันเลยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารนี่ละครับ....
อารมณ์และการแสดงออกของผู้สื่อก็เป็นปัญหาและนำมาซึ่งความยุ่งยากได้ครับ หลายๆครั้งที่ความขัดแย้ง รวมไปถึงการฟ้องร้อง มาจากอารมณ์และการแสดงออกไม่ว่าจะญาติ หรือ หมอเอง แม้ว่าการรักษาจะถูกต้องทุกประการ คนไข้หายดี แต่ก็มีหลายครั้งที่หมอถูกร้องเรียนว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
“หน้าตา” “กริยา” “คำพูด” “การแสดงออก” อันนี้ตัดสินกันลำบากจริงๆครับ เพราะมาตรฐาน ความพึงพอใจ และความคาดหวังของทั้งคนไข้และหมอในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน สมมติสถานการณ์ที่อ้างอิงจากเรื่องจริงนิดๆกันหน่อยดีกว่า (ย้ำอีกครั้งนะครับว่าสมมติ ผมเอาบางส่วนมาจากหนังสือเรียนสอนจริยธรรมคุณหมอสมัยเรียนเนี่ยแหละ)
ผู้ป่วย หญิงอายุ 16 ปีมาโรงพยาบาลตอนตี 4 โดยมาด้วยอาการเป็นหวัดมา 3 วัน
ฝั่งคนไข้ : อายุ 16 ปีเป็นหวัดมาได้ 3 วันแล้ว มีอาการคัดจมูกเล็กน้อย จามนิดหน่อย ไม่เจ็บคอ ไม่มีไข้ ที่มาตอนตี 4 เพราะน้ำมูกไหลตลอด ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่ได้ หวังจะไปซื้อยาที่ร้านขายยาก็คงยังไม่มีที่ไหนเปิด อย่ากระนั้นเลยไปโรงพยาบาลดีกว่า
ฝั่งหมอ : อายุ 30 ปี อยู่เวรมา 4 วันติดกันแล้ว ได้นอนรวมกันประมาณ 16-17 ชั่วโมงใน 4 วัน และเวรวันนี้เพิ่งได้นอนเมื่อตอนเที่ยงคืนยังไม่ได้อาบน้ำ เพราะหลับคาห้องตรวจไปเลย ปรากฏว่าตอนตี 3 ครึ่งมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ามา จึงต้องไปดูก่อน และต้องดูแลรักษาอยู่ระยะหนึ่ง
ขณะที่หมอกำลังรักษาคนไข้ฉุกเฉินในห้องตอนตี 3 ครึ่งอยู่ ตอนตี 4 คนไข้หญิงที่เป็นหวัดก็มาถึง ปรากฏว่าเมื่อมาถึง เธอต้องรอประมาณ อีกเกือบ ชั่วโมงหนึ่งกว่าจะได้ตรวจ(เพราะหมอช่วยคนไข้อีกคนหนึ่งอยู่) มีเจ้าหน้าที่บอกว่าต้องรออีกสักพัก ก็เริ่มสร้างความไม่พอใจให้กับเธอมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมอมาถึง แอบได้ยินคนไข้บ่นขมุบขมิบ(เบาๆ)ก่อน
คนไข้ : ทำอะไรอยู่ ... ช้า อิ๊บอ๋าย รู้งี้ไม่มาหรอก
หมอมาถึง และแสดงตัว (ตอนได้ยินอยู่หลังคนไข้)
หมอ : เป็นอะไรมาครับ
คนไข้ : เป็นหวัด (อารมณ์บูด)
หมอ : เป็นมานานเท่าไร (อารมณ์อิดโรยและเซ็ง)
คนไข้ : 3 วัน
หมอ : อ้าวเป็นมาตั้ง 3 วัน... แล้วทำไมเพิ่งมาละครับ (ขุ่น)
คนไข้ : ก็น้ำมูกมันไหลตลอดนอนไม่ได้ (เริ่มยัวะ)
ขมุบขมิบปาก(เบาๆ)...ถ้ารู้ว่ามาแล้วจะรักษาช้าอย่างนี้ละก็ ไม่มาหรอก....
หมอ : ผมช่วยคนไข้อีกคนในห้องฉุกเฉินอยู่...(เริ่มยัวะบ้าง)
คนไข้ : ค่ะ ก็ไม่ได้ว่าอะไรนี่คะ !!! (หน้าบูด)
หมอ : แพ้ยาอะไรไหมครับ
คนไข้ : ไม่มีคะ !!!
หมอ : อันนี้ยานะครับ (แนะนำ)
จากกรณีด้านบน คนไข้เองก็ไม่ค่อยจะพอใจการรักษาเท่าไรนั่นละครับ ไม่ว่าการรักษาจะถูก ดี เหมาะสม นั่นก็เพราะอารมณ์ คำพูด การแสดงออกบางอย่างของหมอเองไม่เป็นที่ประทับใจ
ซึ่งอย่างที่ผมบอกครับว่า บางครั้งก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย อย่างกรณีนี้
มุมคนไข้ : อุตส่าห์มาโรงพยาบาลตอนตี 4 นะ ไม่ป่วยก็ไม่ได้คิดอยากจะมา แล้วมาถึงก็ต้องมานั่งรออีกเป็นชั่วโมง พอเจอหมอ ก็พูดจาไม่ดี บุคลิกก็ดูโซมๆ เยินๆ ตรวจก็ตรวจแป๊บเดียวยังไม่ทันจะอะไรเลยก็สั่งยาละ จะตรวจ จะจ่ายยาให้ถูกรึเปล่า เชื่อถือได้รึเปล่า
มุมหมอ : นี่เวรที่ 4 ของผมแล้วนะ นอนก็ไม่ได้นอน ข้าวก็กินไม่ตรงเวลา ช่วยคนอื่นอยู่ไม่ว่าง ที่มาช้าก็เพราะจำเป็น ยังโดนคนไข้บ่นใส่อีก แล้วเป็นหวัดนะ เป็นตั้ง 3 วันมาแล้วทำไมไม่มาตรวจตอนกลางวัน หรือตอนเย็นก็มี มาตอนตี 4 เนี่ยนะ เฮ้อ เหนื่อยใจ....
จากกรณีข้างต้นต่างฝ่ายต่างก็มีอารมณ์+ทัศนคติ ที่แตกต่างกัน พอมาคุยกันบางครั้งก็เหมือนพูดจาไม่ดีใส่กันไปด้วย และถ้าหากกรณีนี้เกิดมีการรักษา ที่เป็นที่ข้องใจ ความเข้าใจผิดก็จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
บางครั้งจึงต้องมองทั้ง 2 มุมครับ ฝั่งหมอเองก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อคนไข้มาตรวจแล้ว ก็คงต้องไปตรวจละครับเพราะเป็นหน้าที่ บางครั้งก็ต้องอดทนเพราะคนไข้ที่มาก็ต่างนิสัย ต่างความคิด และต่างความคาดหวังจากหมอ ถ้าไปทะเลาะกับคนไข้ไปใช้อารมณ์ใส่ ตอบโต้ ไม่เกิดผลดีแน่นอน แถมผลเสียก็จะตามมาอีกเป็นกระบุง
ส่วนคนไข้เองก็ต้องเข้าใจหมอบ้างครับ หมอเองก็เป็น คน ทำงานก็มีเหนื่อย เมื่อยล้า และเป็นอาชีพที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่นก็ต้องมีความเครียดบ้างเป็นธรรมดา ถึงจะอยู่ในช่วงเวลาที่อยู่เวร อยู่ในหน้าที่ แต่บางครั้งร่างกายที่ทำงานมาติดๆกัน 3-4 วัน มันก็มีล้าบ้าง ซึ่งหมอเองในแต่ละบุคคลก็จะมีทัศนคติ นิสัยใจคอ ความคิดและการแสดงออกที่แตกต่างกัน หมอก็เหมือนอาชีพอื่นๆละครับ หมอบางคนปากเสีย พูดจาเฮงซวย พูดไม่เพราะ บุคลิกเหมือนหาเรื่องอยู่ตลอดเวลา ก็มีอยู่(แต่เป็นส่วนน้อยนะ) ดังนั้นในหมอบางคนที่ทำงานแล้วเหนื่อย หงุดหงิด ก็จะแสดงออกต่างกัน หน้าบูดบ้าง พูดไม่เพราะบ้าง ดูเหนื่อย ดูหงุดหงิดบ้าง (ผมไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ธรรมดาและเหมาะสม แก้ตัวให้หมอแล้วให้คนไข้ทนๆไปนะครับเพราะพฤติกรรมที่แสดงออกมาของแพทย์บาง คนก็ไม่เหมาะสม ผมเพียงแต่ชี้แจงและบอกกล่าวเฉยๆว่าบางครั้งที่คนไข้ไปหาหมอทำไมบางครั้งหมอ ดูหงุดหงิดและดูเหนื่อยมากๆ)
บางครั้งก็ต้องเข้าใจครับว่าหมอไม่ได้รักษาคนไข้คนเดียว และบางครั้งหมอเองก็ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังจากคนไข้ได้ทั้งหมด ให้มาตรวจเร็ว ยิ้มแย้มแจ่มใส บุคลิกดี ตรวจทีละนานๆ รับฟังทุกปัญหา ให้ยาเยอะ สอนรักษาสุขภาพ ทั้งหมดทั้งมวลเป็นหมอที่ดี และสมบูรณ์แบบครับในทางทฤษฎี หมอทุกคนอยากเป็นอย่างนั้น อยากทำอย่างนั้น และถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนั้น เพียงแต่ด้วยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยบางประการ ความขาดแคลน การทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน บางครั้งทำให้หมอเองก็คงไม่สามารถที่จะตอบสนองทุกความต้องการของคนไข้ได้ ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเหตุผลนั้นคนไข้จะได้รับรู้และเข้าใจรึเปล่าก็เท่านั้นเอง
หมอโดยส่วนใหญ่จะไม่มีการวีน เหวี่ยงใส่คนไข้ก่อนหรอกครับ ท่านทั้งหลายสามารถนึกย้อนไปถึงหมอๆทั้งหลายที่ท่านเคยไปตรวจก็ได้ว่าอยู่ ดีๆเค้าวีน เหวี่ยงใส่ท่านรึเปล่า และถ้าหากเกิดเหตุการณ์นั้นจริงก็มักจะมีเหตุผลรองรับเสมอแหละครับ สาเหตุบางครั้งก็เกิดจากหมอพูดไม่ดี บางครั้งก็เกิดจากคนไข้พูดไม่ดี ซึ่งเราก็ต้องไปดูเหตุผลที่แท้จริงอีกทีว่าเกิดจากอะไร
หากท่านไปเห็นเหตุการณ์หมอและคนไข้โวยวายใส่กัน พูดเสียงดัง ก็อยากจะให้ลองเข้าใจหรือฟังเหตุผล ดูเรื่องราวดีๆให้หมดซะก่อน ก่อนจะตัดสินใจว่าใครผิด เพราะบางครั้ง หมออาจจะเป็นต้นเรื่อง คนไข้อาจจะเป็นต้นเรื่อง หรือจริงๆแล้วไม่มีใครผิดเลยแต่แค่ไม่เข้าใจกันแค่นั้นเอง
เคยมีคนไข้มาตรวจกับผมครับแล้วถามว่าหมออีกห้องหนึ่งทำไมเสียงดังใส่คนไข้ จัง เสียงดุด้วย พอเราฟังแล้วก็เลยต้องชี้แจงให้คนไข้ฟังครับ ว่าคนไข้ที่มาตรวจนะ “หูตึง” แล้วเป็นหอบหืดเวลาสอนพ่นยาก็จะต้องสอนโดยพูดเสียงดังก็เลยดูเหมือนดุอย่างนี้ละครับ
แต่เหนือสิ่งอื่นใดผมเชื่อแน่ว่าในบางครั้งแม้การแสดงออกของ “หมอบางคน” จะไม่ถูกใจคนไข้ในบางครั้ง แต่เชื่อเถอะครับว่า “หมอทุกคน” ยินดีให้ความช่วยเหลือ และอยากรักษาคนไข้ให้หายแน่นอน (ไม่ลืมภาพลักษณ์ความหล่อ)
ความคาดหวังของคนไข้
พอพูดถึงเรื่องนี้ก็ยาวไปอีกสักหน่อยละกันนะครับว่า ความคาดหวังของคนไข้เนี่ยเป็นอีก 1 สาเหตุสำคัญที่คนไข้และหมอมักจะเข้าใจผิดกัน
ผู้ป่วยหญิง อายุ 77 ปีเคยเป็นนิ่วมาก่อน มาโรงพยาบาลตอน 8โมงเช้า ด้วยเรื่องตื่นเช้ามาแล้วปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆเหมือนน้ำล้างเนื้อ(หมอเจ้า ของไข้เล่าใหัฟังว่าจางมากๆครับ) เคยเป็นมาก่อนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไปรักษาแล้วอาการดีขึ้นแล้ว เช้านี้เพิ่งเป็นใหม่ ไม่มีอาการอื่น สบายดี ไม่เพลีย
หลังจากมาโรงพยาบาลคุณหมอให้นอนโรงพยาบาล สังเกตอาการรอผลปัสสาวะ รอผลเอกซเรย์ อธิบายให้ญาติที่พามาซึ่งเป็นหลานและคนไข้เข้าใจดีแล้ว จากนั้นหมอจึงกลับไปอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวมาตรวจคนไข้ผู้ป่วยนอกตอนเช้า (เริ่มตรวจ 8.30 น.) โดยแจ้งให้ญาติและพยาบาลทราบว่าจะเข้ามาดูอาการอีกครั้งประมาณตอนเที่ยง เนื่องจากคนไข้ผู้ป่วยนอกที่ตรวจตอนเช้ามีจำนวนมาก และบอกว่าหากมีอาการผิดปกติเพิ่มเติมให้ตามหมอได้ทันที
10.30 น. มีโทรศัพท์ตามหมอบอกว่าญาติคนไข้ไม่พอใจมากและต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาล...????
เมื่อหมอไปถึงเตียง....
ญาติ : คุณหมอคะ ทำไมคุณหมอทำแบบนี้คะ....!!
หมอ : ครับ.....??? (งง) แล้วคุณเป็นอะไรกับคนไข้ ??
ญาติ : ดิฉันเป็นลูกสาวค่ะ หลานเพิ่งโทรไปบอกว่าคุณแม่ปัสสาวะเป็นเลือด ดิฉันก็รีบมาจากต่างจังหวัดเลย ตกใจกันทั้งบ้าน
หมอ : ........แล้ว.......
ญาติ : คุณหมอฟังดิฉันก่อนค่ะ !!! คุณหมอทำอย่างนี้ได้ยังไงคะ !!! ทำไมคุณแม่มานอนเฉยๆ เครื่องมืออะไรก็ไม่มี ถามใครก็ตอบไม่ได้สักคนว่าคุณแม่เป็นอะไรแน่ บอกว่าให้รอหมอก่อน รอหมอก่อน คุณแม่ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะ ไม่เป็นอะไรเหรอคะ ไม่เห็นจะทำอะไรสักอย่าง พยาบาลเฝ้าข้างเตียงก็ไม่มี แล้วดิฉันเนี่ยอุตส่าห์มาจากต่างจังหวัดนะคะ มาถึงมารอตั้งแต่เช้า ตั้งแต่เช้าคุณหมอหายไปไหนมาคะ ดิฉันจะขอถามอาการก็ไม่รู้จะถามกับใคร
หมอ : ผมอธิบายให้ญาติที่พามาฟังหมดแล้วนี่ครับ...
ญาติ : คุณหมอเป็นหมอไม่ใช่เหรอคะ !!! ทำไมต้องให้ดิฉันไปถามกับญาติตัวเองละคะ คุณเป็นหมอคุณก็ต้องอธิบายให้ฉันเข้าใจสิ ดิฉันอยากฟังจากหมอเท่านั้นค่ะ
หมอ : ตอนเช้าผมตรวจคนไข้นอกอยู่นะครับ แล้ว......
ญาติ : ดิฉันไม่รับทราบค่ะ!! ดิฉันเป็นห่วงคุณแม่ค่ะ !! ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะหมอไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้ว ถามใครก็บอกว่าเดี๋ยวหมอจะเข้ามาดูเที่ยง คนไข้ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะหมอ
หมอ : ผมประเมินแล้วนะครับตั้งแต่ตอนมาว่าปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆ คนไข้เองก็เคยเป็นนิ่วมาก่อน คือ ตอนนี้ก็ตามผลเอกซเรย์กับผลปัสสาวะอยู่นะครับ แต่ถ้าผลออกมาแล้วยังไงอาจจะต้องมีการส่งตัวก็จะแจ้งให้ญาติทราบอีกครั้ง
ญาติ : จะให้รอไปถึงเมื่อไรคะ ไม่รอแล้วค่ะ ดิฉันจะขอเปลี่ยนโรงพยาบาล อะไรกันมานอนตั้งนาน(ประมาณ 2 ชั่วโมง) ไม่คืบหน้าสักอย่าง!!
ก่อนออกมายายอายุ 77 ปียกมือไหว้หมอครับ แล้วบอกว่าขอโทษ อย่าโกรธลูกสาวเลยนะ ลูกสาวใจร้อนแบบนี้แหละ บอกแล้ว อธิบายแล้วว่าหมอมาดูแล้ว ก็ไม่ฟัง หมอก็ต้องปลอบใจอีกครับว่าไม่เป็นไร ยายไม่ต้องคิดมาก
จากกรณีข้างต้น ก็เห็นแล้วนะครับว่า ญาติคนไข้(ลูกสาว)ที่มาทีหลังนั้น ค่อนข้างคาดหวังการรักษาไปล่วงหน้า (รวมถึงกลัว วิตกมาก) และเหมือนจะคิดมาเองก่อนแล้วจากบ้านว่า คนไข้น่าจะต้องมีคนเฝ้าอยู่ตลอด ต้องวินิจฉัยอย่างรีบด่วนฉุกเฉิน มีเครื่องมือมากมายติดตามตัวคนไข้ มาถึงโรงพยาบาลต้องมีทีมแพทย์อยู่ข้างเตียงแน่ๆ ซึ่งความคาดหวังดังกล่าว จริงๆแล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่ผิดครับที่จะหวังแบบนั้นได้
แต่เมื่อมาถึงไม่เป็นดังที่คิดไว้คาดไว้ แน่นอนละครับก็จะเกิดอาการ มึนตึง กับทีมที่รักษา ว่าไม่ได้มาตรฐานรึเปล่า รักษาดีรึเปล่า ซึ่งหมอเองก็ไม่ได้รักษาไม่ดีตรงไหน เพียงแต่รักษาผิดไปจากความคาดหวังของญาติ
ญาติคนไข้เองคิดไปอย่างว่าปัสสาวะเป็นเลือดอันตรายแน่ๆ (รับฟังจากโทรศัพท์ที่หลานเล่าให้ฟัง) ปัสสาวะเป็นเลือดต้องร้ายแรงแน่ๆ ซึ่งในคนไข้บางคนที่ปัสสาวะเป็นเลือดนั้นก็อันตรายและฉุกเฉินมากครับ แต่บางรายก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างประกอบ(เพราะฉะนั้นหากมีปัสสาวะเป็นเลือดกรุณาปรึกษา แพทย์ทันทีนะครับ)
ซึ่งเมื่อคนไข้มาถึงโรงพยาบาลหมอก็จะประเมินอาการความฉุกเฉินและโรคของคนไข้ ก่อนทำการรักษาอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นคนไข้และญาติเองก็ต้องเชื่อใจหมอด้วย อย่าเพิ่งคิดไปเอง คาดหวังไปเองว่าหมอต้องทำนู่น นี่ นั่น ให้แน่นอน
ญาติคนนี้ เมื่อคิดไปเองก่อนแล้ว กลัวไปเองก่อนแล้ว เมื่อรวมกับความผิดจากความคาดหวัง(ไม่ล่ายหลั่งใจ) ที่ไม่เห็นทีมแพทย์จะทำตามที่ตนเองคิดไว้ จึงมาบอมส์ใส่แพทย์อย่างที่กล่าวไป
จากกรณีนี้ผมต้องเรียนให้ทราบก่อนครับว่า หมอประเทศไทยนั้นดูแลคนไข้เป็นจำนวนมาก คงไม่สามารถที่จะมาเฝ้าคนไข้ทุกคนข้างเตียงทุกเตียงได้ตลอดทั้งวัน (แต่ในกรณีที่คนไข้วิกฤตหรือจำเป็นจริงๆก็จะมีการเฝ้าระวังอาการคนไข้อยู่ แล้วครับไม่ต้องห่วง) การสาธารณสุขบ้านเราก็ไม่ได้มีอุปกรณ์วัด ติดตามผู้ป่วยทุกรายทุกคนทุกเตียงที่เข้ามานอนโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์แบบขนาด นั้น เราต้องประเมินคนไข้เป็นรายๆไปโดย ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้และความจำเป็นในการใช้ด้วยว่าจำเป็นต้องใช่หรือเปล่า ถ้าใครจำเป็นต้องใช้ก็ต้องได้ใช้ก่อนละครับ ส่วนการอธิบายก็อย่างที่บอกไปแล้ว บางครั้งจะเรียกหมอให้มาอธิบายแบบเร็วทันใจฉับไว นานกว่า 30 นาทีได้กินหมอฟรี อันนี้ก็คงจะไม่ได้ละครับ ไม่ใช่พิซซ่า โดยส่วนใหญ่หมอก็จะอธิบายญาติที่พามาและคนไข้เองให้เข้าใจอยู่แล้ว และในบางครั้งหมอก็มีงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบอาจจะมาแบบทันใจไม่ได้ซึ่งผม กล่าวกันไปแล้วตั้งแต่กระทู้แรก
เพราะฉะนั้นอย่างที่ผมบอกครับว่า ไม่ใช่ว่าหวังไม่ได้ หวังได้ครับ แต่ต้องหวังอย่างเข้าใจโลกความเป็นจริงรวมทั้งเหตุและผล คิดถึงความเป็นไปได้จริงก่อนมองหลายๆมุม มองให้ลึกลงไปถึงเหตุและผลตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก่อน อย่าเพิ่งไปคิดเองเออเอง ต้องดูบริบทโดยรวม ดูสถานการณ์นั้นๆด้วย และควรรับฟังในสิ่งที่หมออธิบายก่อนนะครับ จะตัดสินอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดกัน
ตอนหน้ามาต่อกันครับ
หลายท่านรู้สึกว่าช่วงนี้ ไม่ค่อยตลกต้องขออภัยเพราะจุดประสงค์ให้คนอ่านเข้าใจหมอมากขึ้น ไม่ได้อ่านเอาฮาอย่างเดียวนะจ๊ะ
และประเด็นที่ทิ้งไว้ครั้งที่แล้วก็คือเรื่องของการสื่อสารนี่ละครับ ระหว่างหมอและคนไข้ซึ่งบางครั้งก็เกิดความขัดแย้งขึ้นได้โดยที่ จริงๆแล้วไปไปมามาก็ไม่ได้เป็นความผิดของใครเลย
งั้น เรามาต่อกันเลยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารนี่ละครับ....
อารมณ์และการแสดงออกของผู้สื่อก็เป็นปัญหาและนำมาซึ่งความยุ่งยากได้ครับ หลายๆครั้งที่ความขัดแย้ง รวมไปถึงการฟ้องร้อง มาจากอารมณ์และการแสดงออกไม่ว่าจะญาติ หรือ หมอเอง แม้ว่าการรักษาจะถูกต้องทุกประการ คนไข้หายดี แต่ก็มีหลายครั้งที่หมอถูกร้องเรียนว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
“หน้าตา” “กริยา” “คำพูด” “การแสดงออก” อันนี้ตัดสินกันลำบากจริงๆครับ เพราะมาตรฐาน ความพึงพอใจ และความคาดหวังของทั้งคนไข้และหมอในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน สมมติสถานการณ์ที่อ้างอิงจากเรื่องจริงนิดๆกันหน่อยดีกว่า (ย้ำอีกครั้งนะครับว่าสมมติ ผมเอาบางส่วนมาจากหนังสือเรียนสอนจริยธรรมคุณหมอสมัยเรียนเนี่ยแหละ)
ผู้ป่วย หญิงอายุ 16 ปีมาโรงพยาบาลตอนตี 4 โดยมาด้วยอาการเป็นหวัดมา 3 วัน
ฝั่งคนไข้ : อายุ 16 ปีเป็นหวัดมาได้ 3 วันแล้ว มีอาการคัดจมูกเล็กน้อย จามนิดหน่อย ไม่เจ็บคอ ไม่มีไข้ ที่มาตอนตี 4 เพราะน้ำมูกไหลตลอด ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่ได้ หวังจะไปซื้อยาที่ร้านขายยาก็คงยังไม่มีที่ไหนเปิด อย่ากระนั้นเลยไปโรงพยาบาลดีกว่า
ฝั่งหมอ : อายุ 30 ปี อยู่เวรมา 4 วันติดกันแล้ว ได้นอนรวมกันประมาณ 16-17 ชั่วโมงใน 4 วัน และเวรวันนี้เพิ่งได้นอนเมื่อตอนเที่ยงคืนยังไม่ได้อาบน้ำ เพราะหลับคาห้องตรวจไปเลย ปรากฏว่าตอนตี 3 ครึ่งมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ามา จึงต้องไปดูก่อน และต้องดูแลรักษาอยู่ระยะหนึ่ง
ขณะที่หมอกำลังรักษาคนไข้ฉุกเฉินในห้องตอนตี 3 ครึ่งอยู่ ตอนตี 4 คนไข้หญิงที่เป็นหวัดก็มาถึง ปรากฏว่าเมื่อมาถึง เธอต้องรอประมาณ อีกเกือบ ชั่วโมงหนึ่งกว่าจะได้ตรวจ(เพราะหมอช่วยคนไข้อีกคนหนึ่งอยู่) มีเจ้าหน้าที่บอกว่าต้องรออีกสักพัก ก็เริ่มสร้างความไม่พอใจให้กับเธอมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมอมาถึง แอบได้ยินคนไข้บ่นขมุบขมิบ(เบาๆ)ก่อน
คนไข้ : ทำอะไรอยู่ ... ช้า อิ๊บอ๋าย รู้งี้ไม่มาหรอก
หมอมาถึง และแสดงตัว (ตอนได้ยินอยู่หลังคนไข้)
หมอ : เป็นอะไรมาครับ
คนไข้ : เป็นหวัด (อารมณ์บูด)
หมอ : เป็นมานานเท่าไร (อารมณ์อิดโรยและเซ็ง)
คนไข้ : 3 วัน
หมอ : อ้าวเป็นมาตั้ง 3 วัน... แล้วทำไมเพิ่งมาละครับ (ขุ่น)
คนไข้ : ก็น้ำมูกมันไหลตลอดนอนไม่ได้ (เริ่มยัวะ)
ขมุบขมิบปาก(เบาๆ)...ถ้ารู้ว่ามาแล้วจะรักษาช้าอย่างนี้ละก็ ไม่มาหรอก....
หมอ : ผมช่วยคนไข้อีกคนในห้องฉุกเฉินอยู่...(เริ่มยัวะบ้าง)
คนไข้ : ค่ะ ก็ไม่ได้ว่าอะไรนี่คะ !!! (หน้าบูด)
หมอ : แพ้ยาอะไรไหมครับ
คนไข้ : ไม่มีคะ !!!
หมอ : อันนี้ยานะครับ (แนะนำ)
จากกรณีด้านบน คนไข้เองก็ไม่ค่อยจะพอใจการรักษาเท่าไรนั่นละครับ ไม่ว่าการรักษาจะถูก ดี เหมาะสม นั่นก็เพราะอารมณ์ คำพูด การแสดงออกบางอย่างของหมอเองไม่เป็นที่ประทับใจ
ซึ่งอย่างที่ผมบอกครับว่า บางครั้งก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย อย่างกรณีนี้
มุมคนไข้ : อุตส่าห์มาโรงพยาบาลตอนตี 4 นะ ไม่ป่วยก็ไม่ได้คิดอยากจะมา แล้วมาถึงก็ต้องมานั่งรออีกเป็นชั่วโมง พอเจอหมอ ก็พูดจาไม่ดี บุคลิกก็ดูโซมๆ เยินๆ ตรวจก็ตรวจแป๊บเดียวยังไม่ทันจะอะไรเลยก็สั่งยาละ จะตรวจ จะจ่ายยาให้ถูกรึเปล่า เชื่อถือได้รึเปล่า
มุมหมอ : นี่เวรที่ 4 ของผมแล้วนะ นอนก็ไม่ได้นอน ข้าวก็กินไม่ตรงเวลา ช่วยคนอื่นอยู่ไม่ว่าง ที่มาช้าก็เพราะจำเป็น ยังโดนคนไข้บ่นใส่อีก แล้วเป็นหวัดนะ เป็นตั้ง 3 วันมาแล้วทำไมไม่มาตรวจตอนกลางวัน หรือตอนเย็นก็มี มาตอนตี 4 เนี่ยนะ เฮ้อ เหนื่อยใจ....
จากกรณีข้างต้นต่างฝ่ายต่างก็มีอารมณ์+ทัศนคติ ที่แตกต่างกัน พอมาคุยกันบางครั้งก็เหมือนพูดจาไม่ดีใส่กันไปด้วย และถ้าหากกรณีนี้เกิดมีการรักษา ที่เป็นที่ข้องใจ ความเข้าใจผิดก็จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
บางครั้งจึงต้องมองทั้ง 2 มุมครับ ฝั่งหมอเองก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อคนไข้มาตรวจแล้ว ก็คงต้องไปตรวจละครับเพราะเป็นหน้าที่ บางครั้งก็ต้องอดทนเพราะคนไข้ที่มาก็ต่างนิสัย ต่างความคิด และต่างความคาดหวังจากหมอ ถ้าไปทะเลาะกับคนไข้ไปใช้อารมณ์ใส่ ตอบโต้ ไม่เกิดผลดีแน่นอน แถมผลเสียก็จะตามมาอีกเป็นกระบุง
ส่วนคนไข้เองก็ต้องเข้าใจหมอบ้างครับ หมอเองก็เป็น คน ทำงานก็มีเหนื่อย เมื่อยล้า และเป็นอาชีพที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่นก็ต้องมีความเครียดบ้างเป็นธรรมดา ถึงจะอยู่ในช่วงเวลาที่อยู่เวร อยู่ในหน้าที่ แต่บางครั้งร่างกายที่ทำงานมาติดๆกัน 3-4 วัน มันก็มีล้าบ้าง ซึ่งหมอเองในแต่ละบุคคลก็จะมีทัศนคติ นิสัยใจคอ ความคิดและการแสดงออกที่แตกต่างกัน หมอก็เหมือนอาชีพอื่นๆละครับ หมอบางคนปากเสีย พูดจาเฮงซวย พูดไม่เพราะ บุคลิกเหมือนหาเรื่องอยู่ตลอดเวลา ก็มีอยู่(แต่เป็นส่วนน้อยนะ) ดังนั้นในหมอบางคนที่ทำงานแล้วเหนื่อย หงุดหงิด ก็จะแสดงออกต่างกัน หน้าบูดบ้าง พูดไม่เพราะบ้าง ดูเหนื่อย ดูหงุดหงิดบ้าง (ผมไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ธรรมดาและเหมาะสม แก้ตัวให้หมอแล้วให้คนไข้ทนๆไปนะครับเพราะพฤติกรรมที่แสดงออกมาของแพทย์บาง คนก็ไม่เหมาะสม ผมเพียงแต่ชี้แจงและบอกกล่าวเฉยๆว่าบางครั้งที่คนไข้ไปหาหมอทำไมบางครั้งหมอ ดูหงุดหงิดและดูเหนื่อยมากๆ)
บางครั้งก็ต้องเข้าใจครับว่าหมอไม่ได้รักษาคนไข้คนเดียว และบางครั้งหมอเองก็ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังจากคนไข้ได้ทั้งหมด ให้มาตรวจเร็ว ยิ้มแย้มแจ่มใส บุคลิกดี ตรวจทีละนานๆ รับฟังทุกปัญหา ให้ยาเยอะ สอนรักษาสุขภาพ ทั้งหมดทั้งมวลเป็นหมอที่ดี และสมบูรณ์แบบครับในทางทฤษฎี หมอทุกคนอยากเป็นอย่างนั้น อยากทำอย่างนั้น และถ้ามีโอกาสก็จะทำอย่างนั้น เพียงแต่ด้วยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยบางประการ ความขาดแคลน การทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน บางครั้งทำให้หมอเองก็คงไม่สามารถที่จะตอบสนองทุกความต้องการของคนไข้ได้ ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเหตุผลนั้นคนไข้จะได้รับรู้และเข้าใจรึเปล่าก็เท่านั้นเอง
หมอโดยส่วนใหญ่จะไม่มีการวีน เหวี่ยงใส่คนไข้ก่อนหรอกครับ ท่านทั้งหลายสามารถนึกย้อนไปถึงหมอๆทั้งหลายที่ท่านเคยไปตรวจก็ได้ว่าอยู่ ดีๆเค้าวีน เหวี่ยงใส่ท่านรึเปล่า และถ้าหากเกิดเหตุการณ์นั้นจริงก็มักจะมีเหตุผลรองรับเสมอแหละครับ สาเหตุบางครั้งก็เกิดจากหมอพูดไม่ดี บางครั้งก็เกิดจากคนไข้พูดไม่ดี ซึ่งเราก็ต้องไปดูเหตุผลที่แท้จริงอีกทีว่าเกิดจากอะไร
หากท่านไปเห็นเหตุการณ์หมอและคนไข้โวยวายใส่กัน พูดเสียงดัง ก็อยากจะให้ลองเข้าใจหรือฟังเหตุผล ดูเรื่องราวดีๆให้หมดซะก่อน ก่อนจะตัดสินใจว่าใครผิด เพราะบางครั้ง หมออาจจะเป็นต้นเรื่อง คนไข้อาจจะเป็นต้นเรื่อง หรือจริงๆแล้วไม่มีใครผิดเลยแต่แค่ไม่เข้าใจกันแค่นั้นเอง
เคยมีคนไข้มาตรวจกับผมครับแล้วถามว่าหมออีกห้องหนึ่งทำไมเสียงดังใส่คนไข้ จัง เสียงดุด้วย พอเราฟังแล้วก็เลยต้องชี้แจงให้คนไข้ฟังครับ ว่าคนไข้ที่มาตรวจนะ “หูตึง” แล้วเป็นหอบหืดเวลาสอนพ่นยาก็จะต้องสอนโดยพูดเสียงดังก็เลยดูเหมือนดุอย่างนี้ละครับ
แต่เหนือสิ่งอื่นใดผมเชื่อแน่ว่าในบางครั้งแม้การแสดงออกของ “หมอบางคน” จะไม่ถูกใจคนไข้ในบางครั้ง แต่เชื่อเถอะครับว่า “หมอทุกคน” ยินดีให้ความช่วยเหลือ และอยากรักษาคนไข้ให้หายแน่นอน (ไม่ลืมภาพลักษณ์ความหล่อ)
ความคาดหวังของคนไข้
พอพูดถึงเรื่องนี้ก็ยาวไปอีกสักหน่อยละกันนะครับว่า ความคาดหวังของคนไข้เนี่ยเป็นอีก 1 สาเหตุสำคัญที่คนไข้และหมอมักจะเข้าใจผิดกัน
ผู้ป่วยหญิง อายุ 77 ปีเคยเป็นนิ่วมาก่อน มาโรงพยาบาลตอน 8โมงเช้า ด้วยเรื่องตื่นเช้ามาแล้วปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆเหมือนน้ำล้างเนื้อ(หมอเจ้า ของไข้เล่าใหัฟังว่าจางมากๆครับ) เคยเป็นมาก่อนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไปรักษาแล้วอาการดีขึ้นแล้ว เช้านี้เพิ่งเป็นใหม่ ไม่มีอาการอื่น สบายดี ไม่เพลีย
หลังจากมาโรงพยาบาลคุณหมอให้นอนโรงพยาบาล สังเกตอาการรอผลปัสสาวะ รอผลเอกซเรย์ อธิบายให้ญาติที่พามาซึ่งเป็นหลานและคนไข้เข้าใจดีแล้ว จากนั้นหมอจึงกลับไปอาบน้ำเพื่อเตรียมตัวมาตรวจคนไข้ผู้ป่วยนอกตอนเช้า (เริ่มตรวจ 8.30 น.) โดยแจ้งให้ญาติและพยาบาลทราบว่าจะเข้ามาดูอาการอีกครั้งประมาณตอนเที่ยง เนื่องจากคนไข้ผู้ป่วยนอกที่ตรวจตอนเช้ามีจำนวนมาก และบอกว่าหากมีอาการผิดปกติเพิ่มเติมให้ตามหมอได้ทันที
10.30 น. มีโทรศัพท์ตามหมอบอกว่าญาติคนไข้ไม่พอใจมากและต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาล...????
เมื่อหมอไปถึงเตียง....
ญาติ : คุณหมอคะ ทำไมคุณหมอทำแบบนี้คะ....!!
หมอ : ครับ.....??? (งง) แล้วคุณเป็นอะไรกับคนไข้ ??
ญาติ : ดิฉันเป็นลูกสาวค่ะ หลานเพิ่งโทรไปบอกว่าคุณแม่ปัสสาวะเป็นเลือด ดิฉันก็รีบมาจากต่างจังหวัดเลย ตกใจกันทั้งบ้าน
หมอ : ........แล้ว.......
ญาติ : คุณหมอฟังดิฉันก่อนค่ะ !!! คุณหมอทำอย่างนี้ได้ยังไงคะ !!! ทำไมคุณแม่มานอนเฉยๆ เครื่องมืออะไรก็ไม่มี ถามใครก็ตอบไม่ได้สักคนว่าคุณแม่เป็นอะไรแน่ บอกว่าให้รอหมอก่อน รอหมอก่อน คุณแม่ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะ ไม่เป็นอะไรเหรอคะ ไม่เห็นจะทำอะไรสักอย่าง พยาบาลเฝ้าข้างเตียงก็ไม่มี แล้วดิฉันเนี่ยอุตส่าห์มาจากต่างจังหวัดนะคะ มาถึงมารอตั้งแต่เช้า ตั้งแต่เช้าคุณหมอหายไปไหนมาคะ ดิฉันจะขอถามอาการก็ไม่รู้จะถามกับใคร
หมอ : ผมอธิบายให้ญาติที่พามาฟังหมดแล้วนี่ครับ...
ญาติ : คุณหมอเป็นหมอไม่ใช่เหรอคะ !!! ทำไมต้องให้ดิฉันไปถามกับญาติตัวเองละคะ คุณเป็นหมอคุณก็ต้องอธิบายให้ฉันเข้าใจสิ ดิฉันอยากฟังจากหมอเท่านั้นค่ะ
หมอ : ตอนเช้าผมตรวจคนไข้นอกอยู่นะครับ แล้ว......
ญาติ : ดิฉันไม่รับทราบค่ะ!! ดิฉันเป็นห่วงคุณแม่ค่ะ !! ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะหมอไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้ว ถามใครก็บอกว่าเดี๋ยวหมอจะเข้ามาดูเที่ยง คนไข้ปัสสาวะเป็นเลือดนะคะหมอ
หมอ : ผมประเมินแล้วนะครับตั้งแต่ตอนมาว่าปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆ คนไข้เองก็เคยเป็นนิ่วมาก่อน คือ ตอนนี้ก็ตามผลเอกซเรย์กับผลปัสสาวะอยู่นะครับ แต่ถ้าผลออกมาแล้วยังไงอาจจะต้องมีการส่งตัวก็จะแจ้งให้ญาติทราบอีกครั้ง
ญาติ : จะให้รอไปถึงเมื่อไรคะ ไม่รอแล้วค่ะ ดิฉันจะขอเปลี่ยนโรงพยาบาล อะไรกันมานอนตั้งนาน(ประมาณ 2 ชั่วโมง) ไม่คืบหน้าสักอย่าง!!
ก่อนออกมายายอายุ 77 ปียกมือไหว้หมอครับ แล้วบอกว่าขอโทษ อย่าโกรธลูกสาวเลยนะ ลูกสาวใจร้อนแบบนี้แหละ บอกแล้ว อธิบายแล้วว่าหมอมาดูแล้ว ก็ไม่ฟัง หมอก็ต้องปลอบใจอีกครับว่าไม่เป็นไร ยายไม่ต้องคิดมาก
จากกรณีข้างต้น ก็เห็นแล้วนะครับว่า ญาติคนไข้(ลูกสาว)ที่มาทีหลังนั้น ค่อนข้างคาดหวังการรักษาไปล่วงหน้า (รวมถึงกลัว วิตกมาก) และเหมือนจะคิดมาเองก่อนแล้วจากบ้านว่า คนไข้น่าจะต้องมีคนเฝ้าอยู่ตลอด ต้องวินิจฉัยอย่างรีบด่วนฉุกเฉิน มีเครื่องมือมากมายติดตามตัวคนไข้ มาถึงโรงพยาบาลต้องมีทีมแพทย์อยู่ข้างเตียงแน่ๆ ซึ่งความคาดหวังดังกล่าว จริงๆแล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่ผิดครับที่จะหวังแบบนั้นได้
แต่เมื่อมาถึงไม่เป็นดังที่คิดไว้คาดไว้ แน่นอนละครับก็จะเกิดอาการ มึนตึง กับทีมที่รักษา ว่าไม่ได้มาตรฐานรึเปล่า รักษาดีรึเปล่า ซึ่งหมอเองก็ไม่ได้รักษาไม่ดีตรงไหน เพียงแต่รักษาผิดไปจากความคาดหวังของญาติ
ญาติคนไข้เองคิดไปอย่างว่าปัสสาวะเป็นเลือดอันตรายแน่ๆ (รับฟังจากโทรศัพท์ที่หลานเล่าให้ฟัง) ปัสสาวะเป็นเลือดต้องร้ายแรงแน่ๆ ซึ่งในคนไข้บางคนที่ปัสสาวะเป็นเลือดนั้นก็อันตรายและฉุกเฉินมากครับ แต่บางรายก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างประกอบ(เพราะฉะนั้นหากมีปัสสาวะเป็นเลือดกรุณาปรึกษา แพทย์ทันทีนะครับ)
ซึ่งเมื่อคนไข้มาถึงโรงพยาบาลหมอก็จะประเมินอาการความฉุกเฉินและโรคของคนไข้ ก่อนทำการรักษาอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นคนไข้และญาติเองก็ต้องเชื่อใจหมอด้วย อย่าเพิ่งคิดไปเอง คาดหวังไปเองว่าหมอต้องทำนู่น นี่ นั่น ให้แน่นอน
ญาติคนนี้ เมื่อคิดไปเองก่อนแล้ว กลัวไปเองก่อนแล้ว เมื่อรวมกับความผิดจากความคาดหวัง(ไม่ล่ายหลั่งใจ) ที่ไม่เห็นทีมแพทย์จะทำตามที่ตนเองคิดไว้ จึงมาบอมส์ใส่แพทย์อย่างที่กล่าวไป
จากกรณีนี้ผมต้องเรียนให้ทราบก่อนครับว่า หมอประเทศไทยนั้นดูแลคนไข้เป็นจำนวนมาก คงไม่สามารถที่จะมาเฝ้าคนไข้ทุกคนข้างเตียงทุกเตียงได้ตลอดทั้งวัน (แต่ในกรณีที่คนไข้วิกฤตหรือจำเป็นจริงๆก็จะมีการเฝ้าระวังอาการคนไข้อยู่ แล้วครับไม่ต้องห่วง) การสาธารณสุขบ้านเราก็ไม่ได้มีอุปกรณ์วัด ติดตามผู้ป่วยทุกรายทุกคนทุกเตียงที่เข้ามานอนโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์แบบขนาด นั้น เราต้องประเมินคนไข้เป็นรายๆไปโดย ขึ้นอยู่กับอาการคนไข้และความจำเป็นในการใช้ด้วยว่าจำเป็นต้องใช่หรือเปล่า ถ้าใครจำเป็นต้องใช้ก็ต้องได้ใช้ก่อนละครับ ส่วนการอธิบายก็อย่างที่บอกไปแล้ว บางครั้งจะเรียกหมอให้มาอธิบายแบบเร็วทันใจฉับไว นานกว่า 30 นาทีได้กินหมอฟรี อันนี้ก็คงจะไม่ได้ละครับ ไม่ใช่พิซซ่า โดยส่วนใหญ่หมอก็จะอธิบายญาติที่พามาและคนไข้เองให้เข้าใจอยู่แล้ว และในบางครั้งหมอก็มีงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบอาจจะมาแบบทันใจไม่ได้ซึ่งผม กล่าวกันไปแล้วตั้งแต่กระทู้แรก
เพราะฉะนั้นอย่างที่ผมบอกครับว่า ไม่ใช่ว่าหวังไม่ได้ หวังได้ครับ แต่ต้องหวังอย่างเข้าใจโลกความเป็นจริงรวมทั้งเหตุและผล คิดถึงความเป็นไปได้จริงก่อนมองหลายๆมุม มองให้ลึกลงไปถึงเหตุและผลตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก่อน อย่าเพิ่งไปคิดเองเออเอง ต้องดูบริบทโดยรวม ดูสถานการณ์นั้นๆด้วย และควรรับฟังในสิ่งที่หมออธิบายก่อนนะครับ จะตัดสินอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดกัน
ตอนหน้ามาต่อกันครับ
หลายท่านรู้สึกว่าช่วงนี้ ไม่ค่อยตลกต้องขออภัยเพราะจุดประสงค์ให้คนอ่านเข้าใจหมอมากขึ้น ไม่ได้อ่านเอาฮาอย่างเดียวนะจ๊ะ
อืมมมมมมมมมมม พยายามเข้าใจนะคะ เพราะบางทีฟังผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลบ่น ก็หาเหตุผลให้ได้ แต่บางคัร้งก็ไม่ไหวจริงๆเมื่อเจอกับตัวเอง ตอนนั้นเป็นภูมิแพ้แล้วก็ขึ้นตาก็เลยไปหาหมอ รอนานไม่ว่านะคะเข้าใจว่าโรงพยาบาลรัฐ ทีนี้หมอตาก็เลยส่งไปตรวจที่ศูนย์ภูมิแพ้ เข้าใจค่ะว่าหมอรับคนเยอะ หมอต้อนรับด้วยอาการหน้างอ,,,แล้วกริยาในการตรวจก็เหมือนไม่อยากตรวจ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ตรวจถึงขั้นโยนทิ้งต่อหน้า วางของแรงกระแทกกระทั้น แล้วการพูดเสียงห้วน เราในฐานะคนไข้แทบร้องไห้เจออาการแบบนี้ แล้วยิ่งอยู่ในภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติด้วย บางทียอมเสียเงินไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชนดีกว่า,,,แอบมีแก้แค้นหน่อยๆว่าถ้าเรื่องหมอคนนี้ผ่านเข้ามาก็จะแอบตรวจแบบเข้มข้นไม่ให้ผ่านง่ายๆ หึ่มๆ เหมือนนางร้ายเลยเนาะ
ตอบลบ