พาดหัวเรื่องนำร่องมาก่อนแบบนี้ก็คง งง กันเล็กน้อยถึงปานกลางนะครับ และผมคิดว่า 30 % ของคนที่เข้ามาอ่านเรื่องนี้นี้คิดว่าเป็นเรื่องคนไข้สักคนกำลังจะต่อว่าโรง พยาบาลสักที่แน่ๆ
คำตอบคือ ผิดครับ
วันนี้จะเป็นเรื่องหมอเล่าครับและเรื่องที่จะนำมาเล่าในครั้งนี้มาจาก ประสบการณ์ที่พบเจอมาเอง และฟังจาก “เพื่อนแพทย์” เล่าๆกันมาบ้างนะครับ
แต่ก่อนอื่น !!! มาดูคำแนะนำ จุดประสงค์ และแรงบันดาลใจก่อนอ่านเรื่องนี้ก่อนนะครับ (บรู้ยยยย!)
1. เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยากนำมาเล่าให้หลายๆคนฟังครับ เป็นประสบการณ์ที่ว่า “เฮ้ย เรื่องแบบนี้มีจริงเหรอ ?” และในบางเรื่อง มีผลต่อการรักษาที่จะตามมา เจตนาอยากอธิบายให้ผู้ป่วยหลายๆท่านเข้าใจตามความเป็นจริงนะครับ และมาขอความเห็นใจด้วย(น่าสงสาร ToT)
2. แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้มาจากการที่ผมได้มีโอกาสได้ยินผู้ป่วยบางท่านบอกว่า “คนไข้ที่มาโรงพยาบาลเค้าก็เห็นว่าเป็นโรงพยาบาลแหละถึงมา ไม่ป่วยก็ไม่คิดจะมาหรอก” “จะมีคนสบายดีที่ไหนอยากมาโรงพยาบาล” “คนที่มาโรงพยาบาลก็ต้องได้ยากลับไปสิ ไม่ได้ยาจะมาโรงพยาบาลทำไม เขาป่วยนะ” จึงอยากจะเล่าบ้างครับว่า คนที่สบายดี อยากมาโรงพยาบาลก็มี (เฮ้ย จริงง่ะ!?)
3. รบกวนอย่าพาเรื่องนี้ดราม่านะครับ ถือว่าเปิดใจรับฟังความเห็น เรื่องราว ประสบการณ์ เอาเป็นว่าเป็นเรื่องที่สนุกบ้างไม่สนุกบ้าง ก็อยากเป็นอีกมุมมองหนึ่งจากแพทย์คนหนึ่งเล่าให้ฟังแล้วกัน
4. ในทุกเรื่องคงจะต้องปิดข้อมูลผู้ป่วยนะครับ แต่จะเล่าเท่าที่จำเป็นตามจุดประสงค์ในเรื่องนั้นๆแล้วกัน และขอยึดโรงพยาบาลของรัฐเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ
วันนี้จะเป็นเรื่องหมอเล่าครับและเรื่องที่จะนำมาเล่าในครั้งนี้มาจาก ประสบการณ์ที่พบเจอมาเอง และฟังจาก “เพื่อนแพทย์” เล่าๆกันมาบ้างนะครับ
แต่ก่อนอื่น !!! มาดูคำแนะนำ จุดประสงค์ และแรงบันดาลใจก่อนอ่านเรื่องนี้ก่อนนะครับ (บรู้ยยยย!)
1. เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยากนำมาเล่าให้หลายๆคนฟังครับ เป็นประสบการณ์ที่ว่า “เฮ้ย เรื่องแบบนี้มีจริงเหรอ ?” และในบางเรื่อง มีผลต่อการรักษาที่จะตามมา เจตนาอยากอธิบายให้ผู้ป่วยหลายๆท่านเข้าใจตามความเป็นจริงนะครับ และมาขอความเห็นใจด้วย(น่าสงสาร ToT)
2. แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้มาจากการที่ผมได้มีโอกาสได้ยินผู้ป่วยบางท่านบอกว่า “คนไข้ที่มาโรงพยาบาลเค้าก็เห็นว่าเป็นโรงพยาบาลแหละถึงมา ไม่ป่วยก็ไม่คิดจะมาหรอก” “จะมีคนสบายดีที่ไหนอยากมาโรงพยาบาล” “คนที่มาโรงพยาบาลก็ต้องได้ยากลับไปสิ ไม่ได้ยาจะมาโรงพยาบาลทำไม เขาป่วยนะ” จึงอยากจะเล่าบ้างครับว่า คนที่สบายดี อยากมาโรงพยาบาลก็มี (เฮ้ย จริงง่ะ!?)
3. รบกวนอย่าพาเรื่องนี้ดราม่านะครับ ถือว่าเปิดใจรับฟังความเห็น เรื่องราว ประสบการณ์ เอาเป็นว่าเป็นเรื่องที่สนุกบ้างไม่สนุกบ้าง ก็อยากเป็นอีกมุมมองหนึ่งจากแพทย์คนหนึ่งเล่าให้ฟังแล้วกัน
4. ในทุกเรื่องคงจะต้องปิดข้อมูลผู้ป่วยนะครับ แต่จะเล่าเท่าที่จำเป็นตามจุดประสงค์ในเรื่องนั้นๆแล้วกัน และขอยึดโรงพยาบาลของรัฐเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ
5. ผมหวังว่า บางเรื่องที่จะเล่านี้ เล่าให้ฟังเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่น่าทำ มาบอกมาเล่าเพื่อขอความร่วมมือ อยากให้ช่วยๆกันเลิกทำในสิ่งที่ไม่ดีนะครับ(ดังกรณีที่มาขอยาเยอะๆที่จะเล่าให้ฟังต่อไป)
เอาละครับ พร้อมยัง.......... เริ่ม !!
โรงพยาบาลคืออะไร ตอบ ก็คือโรงที่มีคุณพยาบาลนะสิ 5555 ..(ไร้สาระ)
โรงพยาบาลก็อย่างที่เราๆท่านๆทราบละครับ ว่าเป็นสถานพยาบาล เป็นสถานที่ที่คนเจ็บป่วย ไปรับการรักษา เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บที่เป็น เป็นสถานที่ที่คนสบายดีไป เพื่อไปตรวจสุขภาพ รับฟังคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อให้สุขภาพตัวเองดีๆขึ้นไป เป็นสถานที่ที่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพอื่นๆทำงาน นอกจากนี้ก็มีงานด้านอื่นๆเช่นส่งเสริมสุขภาพ บางทีก็เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กๆ ก็ว่ากันไป
นั่นเป็นจุดประสงค์ที่โรงพยาบาลถูกกำหนดมาตาม หน้าที่ที่ควรจะเป็นครับ (รวมทั้งรับงบประมาณมาตามนั้น) ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่กว่า 95% ก็เข้าใจเช่นนั้น
แต่ท่านทราบหรือไม่ครับ ว่าโรงพยาบาลก็ไม่ได้เป็นเพียงโรงพยาบาลเสมอไป วันนี้ผมจะขออนุญาตนำอีก 5 % ที่เหลือมาเล่าสู่กันฟังครับ
เมื่อโรงพยาบาลคือ “ร้านขอยา”
ไม่ได้พิมพ์ผิดจ้ะ ร้านขอยาจริงๆจ้ะ ไม่ใช่ร้านขายยา ในผู้ป่วยบางราย ตั้งใจมาโรงพยาบาลเพื่อมา “ขอยา” ครับ
เอ้า !! ก็ถูกแล้วหนิ เขามาโรงพยาบาล มาตรวจรักษาจะไม่ให้ยาเขารึไง
“ให้ครับ” ถ้าป่วยไม่สบาย เรายินดีจัดยาให้ “เต็มที่” ไม่ต้องห่วงเพราะเราในฐานะหมออยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี (เช็ดโด้!!)
แต่ผมหมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ามาเพื่อขอยาจริงๆครับ เข้าตรวจกับแพทย์เพื่อมาขอยาโดยเฉพาะ ถ้ามาขอเล็กน้อยอยากได้ยาไว้ติดบ้าน ไม่มีปัญหาครับ ยังพอให้ได้
แต่ที่ผมหมายถึงนี้ขอเป็นอาชีพครับ ขอจริงจังหวังผล พอไม่ได้ตามที่ขอก็มีการร้องเรียน และไม่สนใจใดๆทั้งสิ้น และตัวเองก็ไม่ได้ป่วย(ตรวจแล้ว) ในบางคนถึงกับเป็นกระดาษจดมาเป็น รายชื่อยาที่ต้องการเลยก็มีครับ อันนั้นกี่ขวด อันนั้นกี่เม็ด และอย่างที่ผมบอกครับ ขอเล็กน้อยไม่มีปัญหา แต่ที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ ขอกันเป็น ร้อยเม็ด ยาน้ำยกโหล กันเลยทีเดียว ที่ผมเจอเองก็มี หลายแก๊กอยู่ครับ
เหตุการณ์แรก
“คุณหมอครับมาขอยาสามัญประจำบ้านครับ”
“เอ่อ.....แล้ววันนี้มีอาการอะไรบ้างครับ”
“ไม่มีครับ สบายดี แค่มาขอยาสามัญประจำบ้าน เอาทั้งหมดที่มีในโรงพยาบาลนี้เลยนะครับ ขอสักตัวละ 20-30 เม็ดก็พอ” (หะ!!)
เหตุการณ์ที่ 2
“คุณหมอคะ วันนี้ไม่ค่อยสบาย”
“เป็นอะไรมาครับ”
“คือ หนู ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ไม่สบาย กระส่ายกระสับ ตับพิการ อาหารไม่ย่อย ลิ้นกร่อย ทานอาหารไม่อร่อย ไม่มีรส ท้องอืดไม่ตด มีกรดในกระเพาะ กระดูกเปราะ ฟันปวด เป็นปวดในลำไส้ เวลาหายใจ เม้น...นน เหม็น เช้าและเย็นอาเจียน วิงเวียนอยู่เป็นประจำ ปอดช้ำเป็นแผล มีรังแคเต็มศีรษะ ถ่ายอุจจาระไม่ออก ตามหัวเข่าข้อศอกถลอกถลกตกสะเก็ด เป็นเม็ดผดผื่นคัน หรือเป็นฝ้าที่ลิ้น แข้งขาสั่น เป็นความดันโลหิตสูง ลงพุงน่าเกลียด จุกเสียดแน่นเฟ้อ แถมเรอเหม็นเปรี้ยว โดนผึ้งต่อยตามตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง แมงกินฟัน คันง่ามนิ้วคันตามซอกเล็บ คันตามง่ามขา หน้ามีแต่สิว หิวข้าวทั้งวัน ขันเหมือนไก่”
อันนี้ผมเอาฮาครับ เอามาจากนี้ http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/03/A8988557/A8988557.html
สรุปคือมาด้วยหลายโรคมาก และตบท้ายด้วยว่า “ขอยาเยอะๆนะคะ โดยเฉพาะยากระเพาะ ยาเม็ดหนูขอสัก 3 เดือน ยาน้ำขอสัก 6 ขวด” (หะ !!)
เมื่อหมอตัดสินใจให้ตามความจำเป็นเฉพาะการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆในบางครั้งก็จะ มีคำลอยมา ตามลมเช่น “ขี้เหนียว” “ให้น้อยจัง” “เงินตัวเองก็ไม่ใช่หมอก็ให้ๆมาเถอะ(อันนี้อึ้งสุด)”
นอกจากนี้ก็จะมี “ยาดีจะขอไปแจกญาติ” “ขอยาไปทำบุญขอเยอะๆนะ(อันนี้หนักใจมาก)” และที่เขาไม่บอกตามตรงมาขอๆๆๆๆๆแต่สุดท้ายถูกจับได้และโดนสอบสวนไปเรียบร้อย คือ “โกหกว่าขอยาไปให้ญาติที่ป่วยแต่เอายานั้นไปขายต่อ(โดนจับไปแล้วครับ)”
มีหลายครั้งที่พยายามชี้แจงครับ แต่ก็เหนื่อยใจเล็กน้อยกับคำพูดที่ได้รับกลับมาดังตัวอย่าง
“มาขอแค่ยาสามัญประจำบ้าน ไม่กี่พัน ขอไม่ได้รึไง”
“ฉันจ่ายภาษีนะ ฉันก็ต้องได้ส่วนของฉันคืนสิ”
“ขอๆยาไปเถอะแม่ยังไงมันก็ฟรี”
การขอยานั้น ไม่ใช่ว่าให้ไม่ได้ครับ ไม่ได้มีข้อห้ามในการขอยาเพิ่ม(ถ้าสิทธิการรักษานั้นใช้กับยานั้นๆได้) แต่ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง อยากจะให้ขอตามเท่าที่จำเป็นครับ เท่าที่เราป่วย ถ้าอยากได้ยาติดบ้านเผื่อเจ็บป่วยจริงๆ เป็นโรคนั้นๆบ่อย ก็ขอเล็กน้อย ขอพอควรครับ ยกตัวอย่างเช่น
หากท่านเป็นไข้หวัด ไปตรวจแล้ว มีปวดเมื่อยกล้ามเนื้อด้วยนิดหน่อย อยากขอยานวดสักหลอด ยาลดไข้เพิ่มสัก 10-20 เม็ด กำลังน่ารักครับ ยินดีให้
แต่ถ้าท่านขอ ยาลดไข้ 100 เม็ด ยานวด 10 หลอด (เคยเจอมาแล้ว) ยังงี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
เพราะคุณหมอเองเวลาจะสั่งยาก็จะสั่งตามความจำเป็น เพราะถ้าไม่ป่วยจะกินยาทำไมเนาะ ยาเองก็มีผลข้างเคียง ไม่จำเป็นต้องกินก็ไม่ต้องกินครับ เพื่อสุขภาพผู้ป่วยเองด้วย
บางท่านก็จะบอกว่า “ไม่ต้องห่วงขอยาไปเยอะๆก่อน ไม่ป่วยก็ไม่กินหรอก ถ้าป่วยจะได้กินแล้วจะได้ไม่ต้องมาหาหมอไง”
แพทย์ก็จะห่วงเรื่องการวินิจฉัยอีกละครับ ว่าตัวท่านเองจะกินยาตามโรคที่เป็นถูกหรือไม่ถ้าไม่มาหาหมอ(ในกรณีมีคนไข้ บางรายมาขอยาที่ต้องใช้ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น กลับไปเก็บไว้บ้านก็มีนะครับ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ให้ไป)
“แค่ยาสามัญประจำบ้านนะ กินไม่ยากหรอกทำไมให้ไม่ได้ !!”
งั้นต้องขอชี้แจงเพิ่มเติมละครับ ในการรักษาที่เราเข้าใจว่ารักษาฟรีนั้น ค่ารักษาก็มาจากงบประมาณของรัฐ(ภาษีเรา)นั่นแหละครับโดยแบ่งส่วนหนึ่งมาจ่าย ให้ ซึ่งงบประมาณการจ่ายยา เขาคำนวณจาก “ความจำเป็น”ในการใช้ยานั้นๆ ในการป่วยที่มาพบแพทย์ครั้งนั้นนะครับ ไม่ได้คำนวณรวมถึงยาที่ท่านขอ(ไปเป็นจำนวนมาก) เผื่อการเจ็บป่วยในอนาคต(ซึ่งท่านเผื่อไว้ ส่วนจะเป็นหรือไม่ก็อีกเรื่อง)นะครับ
และการขอยาเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลบางโรงพยาบาลเกิดการขาดทุน เนื่องจากค่ายาที่จ่ายไปมันเกินงบประมาณที่ลงมา(และการเจ็บป่วยที่เป็นจริง)
ที่สำคัญ เงินที่จ่ายค่ายาเหล่านี้ ก็มาจากภาษีเราๆท่านๆนี่ละครับ เพราะฉะนั้นแพทย์เอง ก็เป็นหนึ่งในข้าราชการ(โรงพยาบาลรัฐ) ก็จำเป็นจะต้องนำภาษีที่ได้มา มาบริหารให้ดีที่สุด ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าที่สุด เพราะไม่ได้มีแต่ค่ายา ยังต้องมีค่าอื่นๆที่โรงพยาบาลต้องนำไปบริหาร ค่าอุปกรณ์ผ่าตัด ค่าชุดผ่าตัด ค่าเอกซเรย์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำความสะอาด ฯลฯ
นอกจากนี้เขาก็จะมีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วครับ จะมีการดูเวชระเบียนหรือประวัติคนไข้ย้อนหลังว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นไข้หวัดทำไมจ่ายยาลดไข้ไป 100 เม็ด ยานวดไป 10 หลอด ยาโรคกระเพาะ ยาแก้อักเสบ แอลกอฮอล์ทำแผล ...... ฯลฯ ไม่สมเหตุสมผลแน่ๆ ที่นี้ก็ตรวจสอบกันยาวครับ
และด้วยการรักษาที่ฟรี ขอยาได้ฟรี ทำให้คนไข้บางท่านหลงลืมไปว่า ยาแต่ละเม็ด เอกซเรย์แต่ละแผ่น ถ้าไปทำโรงพยาบาลเอกชน ก็หลายพันบาทอยู่ ผมเคยเห็นคนไข้ 2 คนสามีภรรยาทะเลาะกันแล้วเอาถุงยาฟาดกันในโรงพยาบาลนี่ละครับ ยากระจัดกระจายตกแตกหมด แล้วก็มาขอยาใหม่ ก่อนกลับสามียังหันมายิ้มให้ผมแล้วบอกผมว่า “ดีนะหมอที่มันฟรี ถ้าเสียตังค์ผมนี่คงเซ็ง” การเห็นคุณค่าของทรัพยากร ของยา จึงลดลงไป
นอกจากนี้ในบางโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้บางอย่างจริงๆ(เช่นผู้ป่วยกล้ามเนื้ออักเสบต้องใช้ ยานวด กินยาไม่ได้เลย) ไม่ได้ใช้ยาที่จำเป็น เนื่องจากยาหมด(ก่อนหน้านั้นมีการขอยาตัวนั้นกันมาก)
สิ่งที่ผมอยากบอก อยากฝาก อยากชี้แจงรวมถึงแนะนำ คนไข้ว่า การขอยาทำได้ครับ ยินดีให้หากท่านป่วยโรคนั้น เจ็บป่วยแบบนั้น ขอเพื่อไปใช้ จำเป็นต้องใช้ หรือขอยาติดบ้านเผื่อการเจ็บป่วยนิดๆหน่อยๆ(เป็นโรคนั้นบ่อย) แพทย์ยินดีจ่ายยาเต็มที่ ให้การรักษาเต็มที่แน่นอน (ตามความจำเป็น)
แต่ผู้ป่วยบางท่านที่เจตนาตั้งใจไปขอยาและขอเยอะๆ ขอฟรีไว้ก่อน เอาเยอะไว้ก่อน เผื่อๆไว้ก่อน ขอแบบจะไม่มาหาหมออีกแล้ว ขอเกินความจำเป็นได้ไปบางคนก็ทิ้งๆขว้างๆ อย่าทำเลยครับ ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนฟรี แต่จริงๆแล้วไม่ฟรีหรอกครับ ก็ภาษีท่านรวมถึงผมนี่แหละ ท่านควรจะให้ภาษีที่ท่าน(และผม) อุตส่าห์จ่ายไปได้มีประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่าที่จะไปเอาคืนมาในรูป ยา(ซึ่งท่านไม่ได้ใช้)เบียดเบียนคนที่เขาควรจะได้ใช้ และท่านเองก็คงไม่ชอบใจเช่นกันถ้ามีคนเอาเงินภาษีท่านไปทำอะไรที่ไม่จำเป็น ไปใช้ทิ้งๆขว้างๆถูกไหมครับ
และฝากเรียนว่าอย่าด่าหรือต่อว่าแพทย์เลยครับ การให้ยาผู้ป่วยของแพทย์นั้นจะให้ยาผู้ป่วยตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละ รายอยู่แล้ว หากท่านสงสัยว่าทำไมได้ยาน้อยถามแพทย์บอกแพทย์ตรงๆดีกว่าครับ แพทย์น่าจะชี้แจงได้ ดีกว่าท่านเข้าใจผิดไปเองว่าโรงพยาบาลนี้ขี้งก หวงยา เพราะบางครั้ง สิ่งที่ท่านอาจเข้าใจว่า มันฟรี เป็นสิทธิของฉัน แต่จริงๆแล้วการใช้งานจริง การรักษาจริงมันมีมูลค่ามากกว่านั้น โรงพยาบาลเองก็มีความจำเป็นเช่นกัน
ปล. หากท่านสงสัยว่าจะอะไรกันนักหนา ยาไม่กี่บาทท่านลองนึกๆยาที่ท่านอยากขอ(แต่ไม่จำเป็นในการรักษา) แล้วไปสำรวจร้านยาหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านดูก็ได้ครับว่ากี่บาท คูณด้วยจำนวนคนทั้งตำบลและอำเภอนั้นที่โรงพยาบาลนั้นรับผิดชอบอยู่(โดย เฉลี่ยๆ) นั่นละครับภาระค่ายาที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ(โดยประมาณ) (แต่ไม่จำเป็นในการรักษา)
ต้องขออภัยที่เรื่องนี้อาจจะดูจริงจังไปนิดนะครับ แต่อยากชี้แจงบ้าง เพราะเพื่อนแพทย์หลายๆคนก็บ่นๆเรื่องนี้ให้ฟัง ผมเชื่อครับว่าผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ ไม่ป่วยก็ไม่ไปหาหมอหรอก ถ้าไปก็เอายาตามแต่จำเป็น และแพทย์เองก็จะให้ยาตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายอยู่ แล้ว แต่อยากจะเล่าเรื่องอีกมุมหนึ่งของการรักษาว่าเรื่องแบบนี้ยังมีอยู่ให้ฟัง นะครับ หากท่านไปรับการรักษาแล้วมีคนไข้โวยวายว่าได้ยาน้อย อย่าเพิ่งคิดไปก่อนว่าโรงพยาบาลห่วย แพทย์ผิดนะครับ รับฟังให้รู้จริงเสียก่อนตัดสินใจ ว่า หมออาจจะให้น้อยจริง หรือคนไข้ขอมากไปก็ได้
ภาคหน้ามาต่อครับ...
“เอ่อ.....แล้ววันนี้มีอาการอะไรบ้างครับ”
“ไม่มีครับ สบายดี แค่มาขอยาสามัญประจำบ้าน เอาทั้งหมดที่มีในโรงพยาบาลนี้เลยนะครับ ขอสักตัวละ 20-30 เม็ดก็พอ” (หะ!!)
เหตุการณ์ที่ 2
“คุณหมอคะ วันนี้ไม่ค่อยสบาย”
“เป็นอะไรมาครับ”
“คือ หนู ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ไม่สบาย กระส่ายกระสับ ตับพิการ อาหารไม่ย่อย ลิ้นกร่อย ทานอาหารไม่อร่อย ไม่มีรส ท้องอืดไม่ตด มีกรดในกระเพาะ กระดูกเปราะ ฟันปวด เป็นปวดในลำไส้ เวลาหายใจ เม้น...นน เหม็น เช้าและเย็นอาเจียน วิงเวียนอยู่เป็นประจำ ปอดช้ำเป็นแผล มีรังแคเต็มศีรษะ ถ่ายอุจจาระไม่ออก ตามหัวเข่าข้อศอกถลอกถลกตกสะเก็ด เป็นเม็ดผดผื่นคัน หรือเป็นฝ้าที่ลิ้น แข้งขาสั่น เป็นความดันโลหิตสูง ลงพุงน่าเกลียด จุกเสียดแน่นเฟ้อ แถมเรอเหม็นเปรี้ยว โดนผึ้งต่อยตามตัว ปวดหัวอย่างรุนแรง แมงกินฟัน คันง่ามนิ้วคันตามซอกเล็บ คันตามง่ามขา หน้ามีแต่สิว หิวข้าวทั้งวัน ขันเหมือนไก่”
อันนี้ผมเอาฮาครับ เอามาจากนี้ http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/03/A8988557/A8988557.html
สรุปคือมาด้วยหลายโรคมาก และตบท้ายด้วยว่า “ขอยาเยอะๆนะคะ โดยเฉพาะยากระเพาะ ยาเม็ดหนูขอสัก 3 เดือน ยาน้ำขอสัก 6 ขวด” (หะ !!)
เมื่อหมอตัดสินใจให้ตามความจำเป็นเฉพาะการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆในบางครั้งก็จะ มีคำลอยมา ตามลมเช่น “ขี้เหนียว” “ให้น้อยจัง” “เงินตัวเองก็ไม่ใช่หมอก็ให้ๆมาเถอะ(อันนี้อึ้งสุด)”
นอกจากนี้ก็จะมี “ยาดีจะขอไปแจกญาติ” “ขอยาไปทำบุญขอเยอะๆนะ(อันนี้หนักใจมาก)” และที่เขาไม่บอกตามตรงมาขอๆๆๆๆๆแต่สุดท้ายถูกจับได้และโดนสอบสวนไปเรียบร้อย คือ “โกหกว่าขอยาไปให้ญาติที่ป่วยแต่เอายานั้นไปขายต่อ(โดนจับไปแล้วครับ)”
มีหลายครั้งที่พยายามชี้แจงครับ แต่ก็เหนื่อยใจเล็กน้อยกับคำพูดที่ได้รับกลับมาดังตัวอย่าง
“มาขอแค่ยาสามัญประจำบ้าน ไม่กี่พัน ขอไม่ได้รึไง”
“ฉันจ่ายภาษีนะ ฉันก็ต้องได้ส่วนของฉันคืนสิ”
“ขอๆยาไปเถอะแม่ยังไงมันก็ฟรี”
การขอยานั้น ไม่ใช่ว่าให้ไม่ได้ครับ ไม่ได้มีข้อห้ามในการขอยาเพิ่ม(ถ้าสิทธิการรักษานั้นใช้กับยานั้นๆได้) แต่ในฐานะแพทย์คนหนึ่ง อยากจะให้ขอตามเท่าที่จำเป็นครับ เท่าที่เราป่วย ถ้าอยากได้ยาติดบ้านเผื่อเจ็บป่วยจริงๆ เป็นโรคนั้นๆบ่อย ก็ขอเล็กน้อย ขอพอควรครับ ยกตัวอย่างเช่น
หากท่านเป็นไข้หวัด ไปตรวจแล้ว มีปวดเมื่อยกล้ามเนื้อด้วยนิดหน่อย อยากขอยานวดสักหลอด ยาลดไข้เพิ่มสัก 10-20 เม็ด กำลังน่ารักครับ ยินดีให้
แต่ถ้าท่านขอ ยาลดไข้ 100 เม็ด ยานวด 10 หลอด (เคยเจอมาแล้ว) ยังงี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
เพราะคุณหมอเองเวลาจะสั่งยาก็จะสั่งตามความจำเป็น เพราะถ้าไม่ป่วยจะกินยาทำไมเนาะ ยาเองก็มีผลข้างเคียง ไม่จำเป็นต้องกินก็ไม่ต้องกินครับ เพื่อสุขภาพผู้ป่วยเองด้วย
บางท่านก็จะบอกว่า “ไม่ต้องห่วงขอยาไปเยอะๆก่อน ไม่ป่วยก็ไม่กินหรอก ถ้าป่วยจะได้กินแล้วจะได้ไม่ต้องมาหาหมอไง”
แพทย์ก็จะห่วงเรื่องการวินิจฉัยอีกละครับ ว่าตัวท่านเองจะกินยาตามโรคที่เป็นถูกหรือไม่ถ้าไม่มาหาหมอ(ในกรณีมีคนไข้ บางรายมาขอยาที่ต้องใช้ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น กลับไปเก็บไว้บ้านก็มีนะครับ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ให้ไป)
“แค่ยาสามัญประจำบ้านนะ กินไม่ยากหรอกทำไมให้ไม่ได้ !!”
งั้นต้องขอชี้แจงเพิ่มเติมละครับ ในการรักษาที่เราเข้าใจว่ารักษาฟรีนั้น ค่ารักษาก็มาจากงบประมาณของรัฐ(ภาษีเรา)นั่นแหละครับโดยแบ่งส่วนหนึ่งมาจ่าย ให้ ซึ่งงบประมาณการจ่ายยา เขาคำนวณจาก “ความจำเป็น”ในการใช้ยานั้นๆ ในการป่วยที่มาพบแพทย์ครั้งนั้นนะครับ ไม่ได้คำนวณรวมถึงยาที่ท่านขอ(ไปเป็นจำนวนมาก) เผื่อการเจ็บป่วยในอนาคต(ซึ่งท่านเผื่อไว้ ส่วนจะเป็นหรือไม่ก็อีกเรื่อง)นะครับ
และการขอยาเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลบางโรงพยาบาลเกิดการขาดทุน เนื่องจากค่ายาที่จ่ายไปมันเกินงบประมาณที่ลงมา(และการเจ็บป่วยที่เป็นจริง)
ที่สำคัญ เงินที่จ่ายค่ายาเหล่านี้ ก็มาจากภาษีเราๆท่านๆนี่ละครับ เพราะฉะนั้นแพทย์เอง ก็เป็นหนึ่งในข้าราชการ(โรงพยาบาลรัฐ) ก็จำเป็นจะต้องนำภาษีที่ได้มา มาบริหารให้ดีที่สุด ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าที่สุด เพราะไม่ได้มีแต่ค่ายา ยังต้องมีค่าอื่นๆที่โรงพยาบาลต้องนำไปบริหาร ค่าอุปกรณ์ผ่าตัด ค่าชุดผ่าตัด ค่าเอกซเรย์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ทำความสะอาด ฯลฯ
นอกจากนี้เขาก็จะมีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วครับ จะมีการดูเวชระเบียนหรือประวัติคนไข้ย้อนหลังว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ เป็นไข้หวัดทำไมจ่ายยาลดไข้ไป 100 เม็ด ยานวดไป 10 หลอด ยาโรคกระเพาะ ยาแก้อักเสบ แอลกอฮอล์ทำแผล ...... ฯลฯ ไม่สมเหตุสมผลแน่ๆ ที่นี้ก็ตรวจสอบกันยาวครับ
และด้วยการรักษาที่ฟรี ขอยาได้ฟรี ทำให้คนไข้บางท่านหลงลืมไปว่า ยาแต่ละเม็ด เอกซเรย์แต่ละแผ่น ถ้าไปทำโรงพยาบาลเอกชน ก็หลายพันบาทอยู่ ผมเคยเห็นคนไข้ 2 คนสามีภรรยาทะเลาะกันแล้วเอาถุงยาฟาดกันในโรงพยาบาลนี่ละครับ ยากระจัดกระจายตกแตกหมด แล้วก็มาขอยาใหม่ ก่อนกลับสามียังหันมายิ้มให้ผมแล้วบอกผมว่า “ดีนะหมอที่มันฟรี ถ้าเสียตังค์ผมนี่คงเซ็ง” การเห็นคุณค่าของทรัพยากร ของยา จึงลดลงไป
นอกจากนี้ในบางโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้บางอย่างจริงๆ(เช่นผู้ป่วยกล้ามเนื้ออักเสบต้องใช้ ยานวด กินยาไม่ได้เลย) ไม่ได้ใช้ยาที่จำเป็น เนื่องจากยาหมด(ก่อนหน้านั้นมีการขอยาตัวนั้นกันมาก)
สิ่งที่ผมอยากบอก อยากฝาก อยากชี้แจงรวมถึงแนะนำ คนไข้ว่า การขอยาทำได้ครับ ยินดีให้หากท่านป่วยโรคนั้น เจ็บป่วยแบบนั้น ขอเพื่อไปใช้ จำเป็นต้องใช้ หรือขอยาติดบ้านเผื่อการเจ็บป่วยนิดๆหน่อยๆ(เป็นโรคนั้นบ่อย) แพทย์ยินดีจ่ายยาเต็มที่ ให้การรักษาเต็มที่แน่นอน (ตามความจำเป็น)
แต่ผู้ป่วยบางท่านที่เจตนาตั้งใจไปขอยาและขอเยอะๆ ขอฟรีไว้ก่อน เอาเยอะไว้ก่อน เผื่อๆไว้ก่อน ขอแบบจะไม่มาหาหมออีกแล้ว ขอเกินความจำเป็นได้ไปบางคนก็ทิ้งๆขว้างๆ อย่าทำเลยครับ ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนฟรี แต่จริงๆแล้วไม่ฟรีหรอกครับ ก็ภาษีท่านรวมถึงผมนี่แหละ ท่านควรจะให้ภาษีที่ท่าน(และผม) อุตส่าห์จ่ายไปได้มีประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่าที่จะไปเอาคืนมาในรูป ยา(ซึ่งท่านไม่ได้ใช้)เบียดเบียนคนที่เขาควรจะได้ใช้ และท่านเองก็คงไม่ชอบใจเช่นกันถ้ามีคนเอาเงินภาษีท่านไปทำอะไรที่ไม่จำเป็น ไปใช้ทิ้งๆขว้างๆถูกไหมครับ
และฝากเรียนว่าอย่าด่าหรือต่อว่าแพทย์เลยครับ การให้ยาผู้ป่วยของแพทย์นั้นจะให้ยาผู้ป่วยตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละ รายอยู่แล้ว หากท่านสงสัยว่าทำไมได้ยาน้อยถามแพทย์บอกแพทย์ตรงๆดีกว่าครับ แพทย์น่าจะชี้แจงได้ ดีกว่าท่านเข้าใจผิดไปเองว่าโรงพยาบาลนี้ขี้งก หวงยา เพราะบางครั้ง สิ่งที่ท่านอาจเข้าใจว่า มันฟรี เป็นสิทธิของฉัน แต่จริงๆแล้วการใช้งานจริง การรักษาจริงมันมีมูลค่ามากกว่านั้น โรงพยาบาลเองก็มีความจำเป็นเช่นกัน
ปล. หากท่านสงสัยว่าจะอะไรกันนักหนา ยาไม่กี่บาทท่านลองนึกๆยาที่ท่านอยากขอ(แต่ไม่จำเป็นในการรักษา) แล้วไปสำรวจร้านยาหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านดูก็ได้ครับว่ากี่บาท คูณด้วยจำนวนคนทั้งตำบลและอำเภอนั้นที่โรงพยาบาลนั้นรับผิดชอบอยู่(โดย เฉลี่ยๆ) นั่นละครับภาระค่ายาที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ(โดยประมาณ) (แต่ไม่จำเป็นในการรักษา)
ต้องขออภัยที่เรื่องนี้อาจจะดูจริงจังไปนิดนะครับ แต่อยากชี้แจงบ้าง เพราะเพื่อนแพทย์หลายๆคนก็บ่นๆเรื่องนี้ให้ฟัง ผมเชื่อครับว่าผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ ไม่ป่วยก็ไม่ไปหาหมอหรอก ถ้าไปก็เอายาตามแต่จำเป็น และแพทย์เองก็จะให้ยาตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายอยู่ แล้ว แต่อยากจะเล่าเรื่องอีกมุมหนึ่งของการรักษาว่าเรื่องแบบนี้ยังมีอยู่ให้ฟัง นะครับ หากท่านไปรับการรักษาแล้วมีคนไข้โวยวายว่าได้ยาน้อย อย่าเพิ่งคิดไปก่อนว่าโรงพยาบาลห่วย แพทย์ผิดนะครับ รับฟังให้รู้จริงเสียก่อนตัดสินใจ ว่า หมออาจจะให้น้อยจริง หรือคนไข้ขอมากไปก็ได้
ภาคหน้ามาต่อครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น