เริ่มมาก็งงกันเล็กน้อย ไม่ได้จะมาร้องเพลงให้ฟังนะครับ (แต่หากท่านรู้จักเพลงนี้ น่าจะ 20 up แน่ นอนนะจ๊ะ) แต่บังเอิญว่าช่วงนี้ได้ตรวจผู้ป่วยแล้ว มีข้อสงสัยหรือ ความเชื่อบางอย่าง ที่ผู้ป่วยมักจะเข้าใจผิด หรือ ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าใดนัก ซึ่งเกี่ยวกับการรักษา และข้อสงสัยบางอย่างเป็นเหตุให้เกิดการเสียทรัพย์โดยไม่จำเป็น เสียเวลา รวมไปถึงเสียสุขภาพด้วย ดังนั้น ในวันนี้ จึงจะมาแถลงไขให้ชัดเจนสักเล็กน้อย ซึ่งผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่าท่านผู้อ่านที่น่ารักยิ่งของผมนี้ต้องมีการเข้าใจผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งในนี้แน่นอน แต่หากท่านเข้าใจหมดทุกอย่าง แปลว่า ท่าน..........ลึกซึ้ง
ยาฉีด VS ยากิน
เป็นหนึ่งในความเข้าใจผิดหลายๆครั้งในการรักษา เปรียบเป็นมวย มวยคู่นี้ถ้าขึ้นชก จัดได้ว่าเป็นการขึ้นชกที่บ่อยที่สุด เพราะเชื่อมั่นเหลือเกินว่า ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมทั้งท่านผู้อ่านหลายๆท่าน ยังคงสงสัย งง งวย เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย แต่อย่างว่าครับ มวยคู่นี้ถ้าขึ้นชกก็เป็นมวยสูสีมีดีคนละแบบ รึจริงๆแล้ว เค้าเป็นพี่น้องฝาแฝดกันนั่นเอง
พอๆ เลิกเพ้อเจ้อแล้วเข้าเรื่อง สิ่งที่ต้องการจะสื่อก็คือ ยังมีผู้ป่วยหลายๆท่านเข้าใจว่า ยาฉีดดีกว่ายากินเสมอ มาโรงพยาบาลต้องฉีดยา ฉีดยาเข็มเดียวก็หาย เป็นโรคอะไรก็ตามขอเพียงฉีดยาก็สามารถหายได้เร็ว และหายได้ทันที ถ้ากินต้องกินนาน ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว .......................เป็นความเข้าใจที่ไม่ค่อยถูกนักนะจ๊ะ
จริงๆแล้วยาฉีดกับยากินมีดีคนละแบบ อย่างที่บอก บางครั้งจริงๆเป็นยาตัวเดียวกันนี่ละ แต่อยู่ในรูปกิน กับรูปฉีดนั่นเอง (ดั่งพี่น้องฝาแฝด)
จะยากินหรือยาฉีดแพทย์ จะเลือกตามความเหมาะสมครับ โดยดูจากอาการ ถ้าต้องการให้อาการดีขึ้นแบบทันทีหรือทุเลาอาการไปก่อน แพทย์มักเลือกยาฉีด หรือถ้าเป็นหนักมากๆต้องการให้ยาเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและประเมินแล้วว่า โรคที่ผู้ป่วยเป็นมีความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดจะดีกว่า หรือถ้าใช้ยากินต้องกินขนาดยาปริมาณมาก แพทย์ก็มักจะใช้ยาฉีด
(อ้าว แล้วถ้างั้น ทำไมไม่ฉีดยาให้หมดเลยละคะ...ทำหน้าแบ๊ว) เพราะในบางกรณี ใช้ยาฉีดไม่ได้เพราะ.......
1. ยาชนิดนั้นไม่มียาฉีด (หรือบางครั้งมีในโลกแต่ในโรงพยาบาลนั้นๆไม่มี)
2. การฉีดยาหมายความว่าต้องมีการใช้เข็มฉีดยาซึ่งมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ บริเวณที่ฉีดได้ (แม้โอกาสจะเกิดการติดเชื้อบริเวณที่ฉีดจะน้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆก็ตาม แต่ถ้าเลือกได้ และหากแพทย์คิดว่ายาฉีดไม่จำเป็น ก็จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้ผู้ป่วยครับ)
3. ฉีดแล้วเจ็บง่ะ กลัวเข็มด้วย (บางคนกลัวจนเป็นลมไปเลยก็มีนะครับ เห็นมาแล้ว)
4. กรณีใช้ยาฉีดคนไข้ก็ต้อง อยู่โรงพยาบาลเพราะคนฉีดก็ต้องเป็นผู้ที่ฝึกมาเนาะ เช่น คุณพยาบาล ไงครับ (ยกเว้นกรณียาฉีดเบาหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานบางรายฉีดยาเอง แต่ก่อนฉีดก็ต้องได้รับการสอนมาเหมือนกัน) เมื่อเป็นกรณีที่ผู้ป่วยกลับบ้านก็ต้องเปลี่ยนเป็นยากินครับ เพราะถ้าใช้วิธีนัดมาฉีดยาเอาทุกวัน ก็จะไม่สะดวกต่อคนไข้
5. ในบางครั้ง หากเป็นยาฉีด ต้องมีการอยู่สังเกตอาการแพ้ที่โรงพยาบาลด้วยครับ เพราะยาฉีดบางตัวจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงและรวดเร็วกว่ายากิน เพราะยาจะเข้ากระแสเลือดโดยตรง
ดังนั้น แพทย์แต่ละคนจึงเลือกยาฉีดกับยากินที่แตกต่างกันแล้วแต่บุคคล ไม่ใช่จำเป็นว่าจะต้องใช้ยาฉีดทุกคน ขึ้นอยู่กับ อาการ โรค ผู้ป่วยในสภาวะนั้นๆ ตัวยาที่มีอยู่ปัจจุบัน ผลการรักษาที่คาดว่าจะได้ ตามนั้นครับ
และ ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยนอก หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้าเลือกระหว่างยาฉีดกับยากิน แพทย์มักเลือกยากินก่อนละครับ เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย แต่ต้องขึ้นอยู่กับข้อแม้ที่ว่า ยานั้นในรูปแบบกินสามารถรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีด้วยนะครับ
ผู้ป่วยทุกท่านจึงมั่นใจได้ครับว่า การที่แพทย์เลือกยากินหรือยาฉีดให้นั้น ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ไม่ใช่ว่าการฉีดยาต้องดีว่าการกินยาเสมอไปครับ
1. ยาชนิดนั้นไม่มียาฉีด (หรือบางครั้งมีในโลกแต่ในโรงพยาบาลนั้นๆไม่มี)
2. การฉีดยาหมายความว่าต้องมีการใช้เข็มฉีดยาซึ่งมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ บริเวณที่ฉีดได้ (แม้โอกาสจะเกิดการติดเชื้อบริเวณที่ฉีดจะน้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆก็ตาม แต่ถ้าเลือกได้ และหากแพทย์คิดว่ายาฉีดไม่จำเป็น ก็จะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้ผู้ป่วยครับ)
3. ฉีดแล้วเจ็บง่ะ กลัวเข็มด้วย (บางคนกลัวจนเป็นลมไปเลยก็มีนะครับ เห็นมาแล้ว)
4. กรณีใช้ยาฉีดคนไข้ก็ต้อง อยู่โรงพยาบาลเพราะคนฉีดก็ต้องเป็นผู้ที่ฝึกมาเนาะ เช่น คุณพยาบาล ไงครับ (ยกเว้นกรณียาฉีดเบาหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานบางรายฉีดยาเอง แต่ก่อนฉีดก็ต้องได้รับการสอนมาเหมือนกัน) เมื่อเป็นกรณีที่ผู้ป่วยกลับบ้านก็ต้องเปลี่ยนเป็นยากินครับ เพราะถ้าใช้วิธีนัดมาฉีดยาเอาทุกวัน ก็จะไม่สะดวกต่อคนไข้
5. ในบางครั้ง หากเป็นยาฉีด ต้องมีการอยู่สังเกตอาการแพ้ที่โรงพยาบาลด้วยครับ เพราะยาฉีดบางตัวจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงและรวดเร็วกว่ายากิน เพราะยาจะเข้ากระแสเลือดโดยตรง
ดังนั้น แพทย์แต่ละคนจึงเลือกยาฉีดกับยากินที่แตกต่างกันแล้วแต่บุคคล ไม่ใช่จำเป็นว่าจะต้องใช้ยาฉีดทุกคน ขึ้นอยู่กับ อาการ โรค ผู้ป่วยในสภาวะนั้นๆ ตัวยาที่มีอยู่ปัจจุบัน ผลการรักษาที่คาดว่าจะได้ ตามนั้นครับ
และ ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยนอก หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้าเลือกระหว่างยาฉีดกับยากิน แพทย์มักเลือกยากินก่อนละครับ เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย แต่ต้องขึ้นอยู่กับข้อแม้ที่ว่า ยานั้นในรูปแบบกินสามารถรักษาผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีด้วยนะครับ
ผู้ป่วยทุกท่านจึงมั่นใจได้ครับว่า การที่แพทย์เลือกยากินหรือยาฉีดให้นั้น ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ไม่ใช่ว่าการฉีดยาต้องดีว่าการกินยาเสมอไปครับ
เอกซเรย์บอกได้ทุกอย่าง
“คุณหมอรู้สึกปวดๆท้อง วันนี้ตั้งใจจะมาขอเอกซเรย์ได้ไหมคะ”
“คุณหมอรู้สึกปวดหัว เป็นมานานแล้วขอเอกซเรย์หน่อยได้ไหม”
“คุณหมอ ผมชอบเธอมานานมากแล้ว ขอเอกซเรย์หัวใจเธอหน่อยได้ไหม....... จุ๊กกรู้” (คนหลังนี่มาจีบพยาบาลที่ช่วยฉีดยาให้นะครับ)
อย่างไรก็ตามแต่ การเอกซเรย์ ไม่สามารถบอกโรคได้ทุกโรคอย่างเหมือนในโดเรมอน (ทันไหม) นะครับ
ก่อนอื่นก็ต้องรู้ก่อนว่า เอกซเรย์นี่มีหลายแบบนะครับ เอกซเรย์ธรรมดา (Plain film x-ray) เอกซเรย์พิเศษ(ใส่ไข่) เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวนด์(Ultrasound) การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น
สิ่งที่ต้องการจะสื่อคือ การเอกซเรย์เราสามารถเห็นสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายได้จริงๆครับ แต่เป็นพียงภาพที่ ผ่านเสียง คลื่นแม่เหล็ก รังสี มาอีกต่อหนึ่งในบางครั้งโอกาสผิดพลาด หรือการวินิจฉัย อาจไม่แม่นยำ 100 % ไม่เท่าการผ่าตัดให้เห็นจะๆกันไปเลย แต่จะมาผ่าตัดเข้าไปดูซะอย่างนั้นในผู้ป่วยทุกคนทั้งหมดก็คงจะไม่ได้ เอกซเรย์เหล่านี้จึงเข้ามามีบทบาทร่วมในการวินิจฉัยโรค
ดังนั้นการจะวินิจฉัยโรคโดยเอกซเรย์ ต้องอาศัยทั้งประวัติตรวจร่างกาย และจึงพิจารณาว่าคิดถึงโรคอะไรต้องเอกซเรย์หรือไม่ ถ้าจะเอกซเรย์ต้องใช้ประเภทใดถึงจะเหมาะสมและเห็นโรคนั้นๆที่เป็นอยู่ชัดเจนที่สุด ประมาณนั้นครับ และด้วยความที่เอกซเรย์มีหลายประเภทหลายรูปแบบมากนี่เองทำให้ เอกซเรย์แต่ละประเภทก็จะเหมาะในการวินิจฉัยโรคแต่ละโรคที่แตกต่างกันครับ เช่น
นิ่วในถุงน้ำดี อัลตร้าซาวนด์ ก็จะเหมาะมากกว่า MRI หรือการวินิจฉัย ว่าเป็นปอดบวมหรือไม่ จะไป อัลตร้าซาวนด์ปอดก็คงไม่ชัดเจนและรอคิวการทำนานกว่าเมื่อเทียบกับ เอกซเรย์ปอดธรรมดาดีกว่า หรือการดูว่าก้อนเนื้อมะเร็งตับในผู้ป่วย จะแพร่กระจายหรือยัง อยู่ในระยะใดการทำ ซีทีสแกน (CT Scan) ก็จะช่วยมากกว่าการไปเอกซเรย์ท้องธรรมดา (plain film) ครับ
หรือแม้กระทั่งในบางโรค การเอกซเรย์ก็ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัย เช่นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก็ใช้อาการและผลการตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยัน การเอกซเรย์ดูกระเพาะปัสสาวะ ก็อาจไม่ช่วยในการวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบเท่าใดนักครับ (แพทย์บางท่านอาจจะส่งเอกซเรย์เพิ่มเติมกรณีกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพื่อดูโรคอื่นด้วยเช่นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะครับ)
และการพิจารณาเอกซเรย์นั้นต้องตามความจำเป็นของโรคและค่าใช้จ่ายของเอกซเรย์นั้นๆที่ผู้ป่วยหรือรัฐต้องจ่ายไป ไม่ให้เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนด้วยครับ หรือพูดง่ายๆว่าเอกซเรย์นั้น ทำแล้ว ต้องคุ้มค่าใช้จ่ายและช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ดีนั่นเอง
ดังนั้นโดยสรุปแพทย์จะเลือกการตรวจเอกซเรย์ที่เหมาะสม ตามอาการที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ว่าจำเป็นต้องเอกซเรย์หรือไม่ และหากต้องเอกซเรย์ ต้องเอกซเรย์แบบใด ไม่ใช่ว่า "เอกซเรย์เดี๋ยวก็รู้" ไปซะทุกโรคครับ
“คุณหมอ ผมชอบเธอมานานมากแล้ว ขอเอกซเรย์หัวใจเธอหน่อยได้ไหม....... จุ๊กกรู้” (คนหลังนี่มาจีบพยาบาลที่ช่วยฉีดยาให้นะครับ)
อย่างไรก็ตามแต่ การเอกซเรย์ ไม่สามารถบอกโรคได้ทุกโรคอย่างเหมือนในโดเรมอน (ทันไหม) นะครับ
ก่อนอื่นก็ต้องรู้ก่อนว่า เอกซเรย์นี่มีหลายแบบนะครับ เอกซเรย์ธรรมดา (Plain film x-ray) เอกซเรย์พิเศษ(ใส่ไข่) เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวนด์(Ultrasound) การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น
สิ่งที่ต้องการจะสื่อคือ การเอกซเรย์เราสามารถเห็นสิ่งที่อยู่ภายในร่างกายได้จริงๆครับ แต่เป็นพียงภาพที่ ผ่านเสียง คลื่นแม่เหล็ก รังสี มาอีกต่อหนึ่งในบางครั้งโอกาสผิดพลาด หรือการวินิจฉัย อาจไม่แม่นยำ 100 % ไม่เท่าการผ่าตัดให้เห็นจะๆกันไปเลย แต่จะมาผ่าตัดเข้าไปดูซะอย่างนั้นในผู้ป่วยทุกคนทั้งหมดก็คงจะไม่ได้ เอกซเรย์เหล่านี้จึงเข้ามามีบทบาทร่วมในการวินิจฉัยโรค
ดังนั้นการจะวินิจฉัยโรคโดยเอกซเรย์ ต้องอาศัยทั้งประวัติตรวจร่างกาย และจึงพิจารณาว่าคิดถึงโรคอะไรต้องเอกซเรย์หรือไม่ ถ้าจะเอกซเรย์ต้องใช้ประเภทใดถึงจะเหมาะสมและเห็นโรคนั้นๆที่เป็นอยู่ชัดเจนที่สุด ประมาณนั้นครับ และด้วยความที่เอกซเรย์มีหลายประเภทหลายรูปแบบมากนี่เองทำให้ เอกซเรย์แต่ละประเภทก็จะเหมาะในการวินิจฉัยโรคแต่ละโรคที่แตกต่างกันครับ เช่น
นิ่วในถุงน้ำดี อัลตร้าซาวนด์ ก็จะเหมาะมากกว่า MRI หรือการวินิจฉัย ว่าเป็นปอดบวมหรือไม่ จะไป อัลตร้าซาวนด์ปอดก็คงไม่ชัดเจนและรอคิวการทำนานกว่าเมื่อเทียบกับ เอกซเรย์ปอดธรรมดาดีกว่า หรือการดูว่าก้อนเนื้อมะเร็งตับในผู้ป่วย จะแพร่กระจายหรือยัง อยู่ในระยะใดการทำ ซีทีสแกน (CT Scan) ก็จะช่วยมากกว่าการไปเอกซเรย์ท้องธรรมดา (plain film) ครับ
หรือแม้กระทั่งในบางโรค การเอกซเรย์ก็ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัย เช่นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก็ใช้อาการและผลการตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยัน การเอกซเรย์ดูกระเพาะปัสสาวะ ก็อาจไม่ช่วยในการวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบเท่าใดนักครับ (แพทย์บางท่านอาจจะส่งเอกซเรย์เพิ่มเติมกรณีกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพื่อดูโรคอื่นด้วยเช่นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะครับ)
และการพิจารณาเอกซเรย์นั้นต้องตามความจำเป็นของโรคและค่าใช้จ่ายของเอกซเรย์นั้นๆที่ผู้ป่วยหรือรัฐต้องจ่ายไป ไม่ให้เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนด้วยครับ หรือพูดง่ายๆว่าเอกซเรย์นั้น ทำแล้ว ต้องคุ้มค่าใช้จ่ายและช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ดีนั่นเอง
ดังนั้นโดยสรุปแพทย์จะเลือกการตรวจเอกซเรย์ที่เหมาะสม ตามอาการที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ว่าจำเป็นต้องเอกซเรย์หรือไม่ และหากต้องเอกซเรย์ ต้องเอกซเรย์แบบใด ไม่ใช่ว่า "เอกซเรย์เดี๋ยวก็รู้" ไปซะทุกโรคครับ
ปล. 1. MRI และ ultrasound ไม่ใช่ เอกซเรย์ครับ หมายถึงไม่ได้ใช้รังสีเอกซ์ในการสร้างภาพขึ้นมา บางครั้งอาจยังมีแพทย์บางท่านติดปากว่า "เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า" "เอกซเรย์ความถี่สูง" เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่ายเพราะผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่า เอกซเรย์ คือการถ่ายภาพให้เห็นภายในร่างกาย (ไม่ได้คำนึงว่าต้นกำเนิดภาพมาจากรังสีเอกซ์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นเสียงนะครับ)
ความเข้าใจของแพทย์ : เอกซเรย์คือการถ่ายภาพในร่างกาย(รังสีวินิจฉัย)ด้วยรังสีเอกซ์เป็นตัวทำให้เกิดภาพ (อธิบายง่ายๆนะครับ)
ความเข้าใจของคนไข้ : เอกซเรย์คือการถ่ายภาพให้เห็นอวัยวะในร่างกาย (จะใช้อะไรเป็นตัวทำให้เกิดภาพก็ช่าง)
หาก อธิบายเพิ่มเติมแบบลงลึกมากเกินไป เดี๋ยวคนอ่านจะงงไปหน้านะครับ (และจริงๆแล้วผมมีบทความเรื่องรังสีวินิจฉัยแบบแยกแยะแต่ละประเภทจะนำมาให้ อ่านอีกในโอกาสถัดไปนะครับ)
2. ดังนั้น จุดประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ ในข้อ 2 ก็คือ การถ่ายภาพให้เห็นในร่างกาย(รังสีวินิจฉัย)นั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับแต่ละโรค และบางโรคก็ไม่ต้องใช้ครับ ....^^
ความเข้าใจของแพทย์ : เอกซเรย์คือการถ่ายภาพในร่างกาย(รังสีวินิจฉัย)ด้วยรังสีเอกซ์เป็นตัวทำให้เกิดภาพ (อธิบายง่ายๆนะครับ)
ความเข้าใจของคนไข้ : เอกซเรย์คือการถ่ายภาพให้เห็นอวัยวะในร่างกาย (จะใช้อะไรเป็นตัวทำให้เกิดภาพก็ช่าง)
หาก อธิบายเพิ่มเติมแบบลงลึกมากเกินไป เดี๋ยวคนอ่านจะงงไปหน้านะครับ (และจริงๆแล้วผมมีบทความเรื่องรังสีวินิจฉัยแบบแยกแยะแต่ละประเภทจะนำมาให้ อ่านอีกในโอกาสถัดไปนะครับ)
2. ดังนั้น จุดประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ ในข้อ 2 ก็คือ การถ่ายภาพให้เห็นในร่างกาย(รังสีวินิจฉัย)นั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับแต่ละโรค และบางโรคก็ไม่ต้องใช้ครับ ....^^
เอาละครับด้านบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งครับ ติดตามต่อ ภาค 2 (ตามฟอร์ม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น