คำแนะนำทำใจก่อนอ่านบล็อก

1. บล็อกนี้เป็นบล็อกเพื่อสุขภาพและความบันเทิง
2.ข้อมูลในบล็อกนี้ไม่ควรนำไปอ้างอิง แต่ถ้าจะส่งต่อเพื่อความรู้และความเข้าใจ เชิญเลยจ้ะ
3.โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบล็อก
4.หากจะรักษาโรคใดๆ หรือต้องการข้อมูลสุขภาพสำหรับแต่ละบุคคล ปรึกษาแพทย์โดยตรงเลยดีกว่าจ้ะ

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 : เมื่อฉันไปพบแพทย์ (ภาคสาม)

มื่อฉันไปพบแพทย์ (ภาคสาม)




               จะเข้าสู่มหากาพย์ไตรภาคอยู่แล้วนะครับ อย่าเพิ่งเบื่อก่อนละ ที่เผยแพร่เนี่ยเพราะรักนะ จุ๊บๆ (ผมรู้นะคุณรู้สึกเหวอละสิ)
            
                เมื่อเราเลือกแล้วว่าจะไปตรวจกับหมอด้านใด ไปยังไง เตรียมอะไรไปก็ตามแต่ คราวนี้ก็เข้าพบคุณหมอกันละครับ
 
การตรวจ
                           ในส่วนนี้คุณหมอก็จะถามไปตามปกติละครับ ชื่อ อายุ อาการ ข้อมูลที่คุณผู้ป่วยเองหรือญาติที่เตรียมมาก็บอกไปได้เลยครับ แต่มักจะมีคำถามจากผู้ป่วยหลายครั้งว่าทำไมหมอชอบถามนู่นถามนี่อยู่ได้ ไม่ตรวจซะที อาจจะต้องชี้แจงให้ทราบนิดนึงเพื่อไขกระจ่างครับว่า จริงๆแล้วประวัติการเจ็บป่วย สำคัญมากๆ ในการช่วยวินิจฉัยครับ คุณหมอบางคนอาจวินิจฉัยผู้ป่วยได้จากการเพียงแค่ฟังประวัติแถมยังคาดการ อาการล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องอีกด้วย เพราะฉะนั้นอย่ารำคาญเลยครับ การที่คุณหมอถามประวัตินั้นก็คือการช่วยตรวจวินิจฉัยอย่างหนึ่งเหมือนกัน 
                    
                      ต่อมาเมื่อฟังประวัติแล้วก็จะมาถึงตรวจร่างกายครับ การตรวจร่างกายก็จะตรวจตามอาการที่ได้ฟังมาจากประวัตินั่นละครับ เพื่อช่วยย้ำว่าการวินิจฉัยโรคนั้นถูกต้อง อยากฝากถึงคุณสุภาพสตรีที่ไปตรวจกับคุณหมอผู้ชายนะครับว่าไม่ต้องเป็นห่วง ในเรื่องการตรวจภายในหรือตรวจเต้านมเพราะในห้องตรวจนั้น จะต้องมีพยาบาลซึ่งเป็นผู้หญิงอยู่ด้วยอีก  1 คน ไว้ อยู่เป็นเพื่อนและช่วยเหลือผู้ป่วยเปลี่ยนเสื้อผ้าและจัดท่าการตรวจด้วยครับ 

                 หลังจากการตรวจเสร็จสิ้นก็ขึ้นอยู่กับว่า หมอวินิจฉัยได้เลย หรือต้อง ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ อะไรอีกหรือเปล่า เพราะบางครั้งก็ต้องใช้ผลเหล่านี้ในการช่วยวินิจฉัยด้วย ซึ่งเมื่อต้องไปเจาะเลือดคุณหมออาจจะให้ผู้ป่วยนำเอกสารหรือพวกใบเจาะเลือด ต่างๆติดตัวไปด้วยครับ

การตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ หรือการส่งตรวจพิเศษอื่นๆ
                 ใน ส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร ต้องเจาะตรวจอะไรบ้างประมาณนี้ครับ คุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาเองว่าส่งตรวจอะไรบ้าง มีข้อสังเกตบางอย่างอยากฝากไว้ครับ
·       
                   ผลตรวจนั้นบางครั้งได้ช้าไม่ทันใจหลายท่าน (โดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐ) เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมาก และผู้ป่วยบางรายต้องการผลฉุกเฉินไม่เช่นนั้นอาจจะเสียชีวิต เช่น เอกซเรย์ด่วน ผลเลือดด่วน ทางห้องตรวจก็จะ เอกซเรย์หรือตรวจเลือดผู้ป่วยเหล่านั้นก่อน ดังนั้นผลอาจจะช้าไปบ้างนะครับ แต่ขอให้มั่นใจครับว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้อู้แน่นอน
·      
          การตรวจบอกได้เฉพาะอย่าง ยังมีผู้ป่วยหลายท่านเข้าใจว่าการตรวจเลือดบอกได้ทุกอย่าง เมื่อคุณหมอบอกว่าผลเลือดปกติแปลว่าสบายดีแล้ว ไม่เป็นโรคอะไรแล้ว ไม่ใช่แบบนั้นนะครับ เพราะการตรวจเลือดนั้นมักจะตรวจตามอาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ไม่ได้บอกทุกอย่างที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ผมยกตัวอย่างอย่างนี้แล้วกันครับ
ผู้ป่วยสมมุติว่าชื่อ นายตุ่มเปรี๊ยะแล้วกัน (เอ่อออ.......)
นายตุ่มเปรี๊ยะมาตรวจเบาหวาน เมื่อหมอเจาะเลือดดูบอกว่าผลเลือดปกติ แปลว่านายตุ่มเปรี๊ยะ ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานนะครับไม่ใช่นายตุ่มเปรี๊ยะปกติดีไปหมด นายตุ่มเปรี๊ยะอาจจะเป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูงก็ได้ เป็นต้น
·      การตรวจบางอย่างเหมาะกับบางโรค เช่นเป็นโรคปอดบวม ก็ควรจะ เอกซเรย์ปอดไม่ใช่ตรวจปัสสาวะ หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โดยทั่วไปการเจาะเลือดก็ไม่ได้ช่วยวินิจฉัย สรุปคือคุณหมอจะพิจารณาส่งตรวจตามความเหมาะสมครับ
·     
         การตรวจต้องมีประวัติและอาการประกอบ เช่นผู้ป่วยท่านหนึ่งเดินเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปี และต้องการตรวจเลือดหาโรคมะเร็งทั้งหมดว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ มาขอเจาะเลือดเพื่อตรวจหามะเร็ง โดยไม่มีอาการอะไร(สบายดี) การตรวจแบบนี้กว้างมากครับ เพราะถ้าไม่มีอาการที่จำเพาะก็ไม่รู้ว่ามะเร็งนั้นมาจากไหน (เช่นถ้าเป็นมะเร็งลำไส้ก็อาจจะมีปวดท้อง อ่อนเพลีย น้ำหนักลดชัดเจน ไม่ถ่ายเป็นสัปดาห์ เป็นต้น) 

                           ถ้าผู้ป่วยอาการปกติดีมาขอเจาะเลือดเพื่อหาว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่  จะส่งเจาะเลือดดูค่ามะเร็งอะไรก็ไม่รู้ได้ครับ (เพราะไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง) ถ้าจะส่งตรวจเลือดทั้งหมดที่เกี่ยวกับมะเร็งทั้งตัวมันก็จะกว้างมากๆๆ เกินไปอีกครับ และถึงแม้ค่าจะผิดปกติก็คงไม่สามารถบอกได้อยู่ดีว่ามาจากไหน (แต่ไม่ต้องห่วงครับหากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง อายุเข้าได้ โอกาสเป็นโรคมะเร็งสูง แพทย์ก็จะพิจารณาตรวจเป็นรายๆไปครับ)
·     
           การตรวจเอกซเรย์มีหลายแบบมากครับ ผู้ป่วยหลายท่านจะเข้าใจว่าการตรวจเอกซเรย์นั้นจะทำให้เห็นทุกอย่างจะบอกได้ทุกอย่าง จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ การตรวจเอกซเรย์จะมีหลายแบบ บางอย่างเห็นกระดูก บางอย่างเห็นเนื้อเยื่อชัดเจน บางอย่างเห็นคร่าวๆ บางอย่างเห็นละเอียด แตกต่างกันไปเช่น โรคไส้ติ่งอักเสบนั้น การที่เราไป เอกซเรย์ท้องนั้น ไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ เพราะไม่เห็นไส้ติ่ง อาจจะใช้อัลตราซาวน์ช่วยได้บ้าง (แต่จริงๆแล้วการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ ใช้ประวัติและการตรวจร่างกายครับ) ซึ่งเมื่อจะตรวจคุณหมอจะอธิบายอีกครั้งครับ ซึ่งในบางครั้งการ ตรวจ เอกซเรย์บางอย่างอาจต้องมีการเอกซเรย์พิเศษอื่นเพิ่มเติม(หลังจากทำเอกซเรย์ เบื้องต้นไปก่อนแล้ว) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยครับ
·       
                 การตรวจบางอย่างผลออกทันที บางอย่างต้องรอครับ บางค่า 1 ชั่วโมงก็ได้ผลแล้ว แต่บางอย่างต้องรอ 3 วันเป็นต้น อาจต้องใช้เวลาเป็นวันไปจนถึงเดือน ขึ้นอยู่กับความยากของการทำด้วยครับ
·      
            การ ตรวจบางอย่างต้องมีการนัดมาทำ คือต้องมีการเตรียมผู้ป่วยก่อนจะทำครับ เช่น ส่องกล้องทางเดินอาหาร  ในตอนเย็นวันก่อนที่จะทำก็อาจจะมีการสวนล้างลำไส้ก่อน หรือพรุ่งนี้เช้าจะเจาะเลือดดูเบาหวาน อาจต้องมีการงดกินข้าวงดกินน้ำตอนหลังเที่ยงคืนในคืนก่อนวันที่จะไปเจาะเลือดตรวจ เป็นต้น
·     
            ผล การตรวจมีโอกาสผิดพลาดได้ ในข้อนี้นั้นเกิดขึ้นได้ครับแต่น้อยยยยยยยยยยยมาก (น้อยจริงๆนะ) อาจจะเกิดจากเครื่องที่ใช้ตรวจ เลือดที่เจาะไปนานเกินไปเก็บปัสสาวะไม่ถูกวิธี ฯลฯ แต่ยืนยันว่าน้อยยยยยยยยยยยยยยมากครับเพราะจะมีการตรวจทานซ้ำหลายรอบก่อน รายงาน และคุณหมอจะนำข้อมูลผลเลือดมาประกอบกับการซักประวัติตรวจร่างกายข้างต้นก่อน การวินิจฉัย ถ้าผลเลือดผิดแปลกประหลาดมาก คุณหมออาจจะขออนุญาตผู้ป่วยตรวจซ้ำครับ

การวินิจฉัย
                     มาถึงส่วนสำคัญที่สุดละครับที่คุณๆคนไข้ทั้งหลายมาโรงพยาบาลก็เพื่อจะรู้ว่า เป็นโรคอะไร แพทย์จะใช้ประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดทั้งหลายทั้งปวงนี่ละครับมารวมๆกันเพื่อบอกว่าคุณๆเป็นโรคอะไรกัน ในส่วนนี้แพทย์จะวินิจฉัยแล้วให้การรักษา อาจจะนัดมาตรวจติดตาม หรือไม่นัดก็แล้วแต่โรคที่ต่างๆกันไปครับ หรืออาจจะต้องมีการส่งต่อเพื่อให้แพทย์ท่านอื่นๆที่เชี่ยวชาญกว่ามาร่วมใน การวินิจฉัย ร่วมรักษาด้วยก็เป็นได้ครับ ซึ่งในช่วงนี้เองครับที่ผู้ป่วยควรจะถามแพทย์ให้เข้าใจเลยครับว่า หนูเป็นโรคอะไรคะ ผมต้องทำตัวยังไง คุณหมอจะนัดอีกทีเมื่อไร เป็นต้น

ใบรับรองแพทย์
                  เป็นอีกเรื่องนึงที่มีการเข้าใจผิดอย่างมากครับนั่นคือการออกใบรับรองเพศ เอ้ย แพทย์(แหะๆ) ใบรับรองแพทย์เป็นใบที่ใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายหลายอย่างครับทั้งการเบิกการรักษา การลาหยุดงาน การใช้ในการประกัน เป็นต้น ซึ่งการที่แพทย์จะให้หยุดงานได้นั้นกี่วัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยหรือคนไข้ท่านนั้นๆเจ็บป่วยเป็นอะไรมานะครับ ออกตามอาการ ไม่ได้ออกตามที่ผู้ป่วยร้องขอ (อันนี้เข้าใจผิดหลายคนเลย) และที่สำคัญออกย้อนหลังไม่ได้ครับหากไม่มีประวัติการรักษามาก่อน เช่น นายตุ้มเปรี๊ยะ (คนเดิม) ตกบันไดขาแพลงมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเล็กน้อย แพทย์อาจจะให้หยุดงานได้ 1-2 วันหรือ 1 สัปดาห์(หากนายตุ้มเปรี๊ยะทำงานประเภทที่ต้องใช้เท้ามากเช่นขับรถ ยืนส่งของเป็นต้น) แต่หากนายตุ้มเปรี๊ยะลาหยุดเอง 1 เดือน แล้วค่อยมาขอใบรับรองแพทย์ย้อนหลัง หากไม่มีประวัติการรักษาโรคนั้นๆมาก่อนแพทย์ก็ไม่อาจออกให้ได้ครับ  

                     เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุด หากจะออกจากโรงพยาบาลแล้วขอใบรับรองแพทย์ควรขอ ณ ขณะที่แพทย์ท่านนั้นๆกำลังตรวจอยู่จะดีที่สุดครับ

                 บรรยายมายาวววววววววววววววววววววววววววววววมากเป็นมหากาพย์ 3 ภาค นี่ก็อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ ว่านี่ละครับการเตรียมตัวไปหาหมอที่ถูกต้อง และจะทำให้การไปหาหมอของคุณๆง่ายขึ้นมาก ทั้งในด้านการตรวจ การวินิจฉัย รวมไปถึงการรักษา หวังว่าในบทแรกนี้คงจะให้ความรู้และเหนือสิ่งอื่นใดคือ ความเข้าใจในการไปรักษาที่โรงพยาบาลต่างๆมากขึ้นนะครับ แต่อย่างที่บอกครับว่าหากจำอะไรไม่ได้เลย ก็ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรละครับ พาผู้ป่วยไปให้ถึงโรงพยาบาลก่อน รายละเอียดปลีกย่อยค่อยมาซอยกันทีหลังยังไม่เสียหายครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น