สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ
ปีเก่าผ่านไปปีใหม่ผ่านมา
คิดหวังสิ่งใดในสิ่งที่ดีก็ขอให้ประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้าถ้วนตานะครับ
ใครอยากจะเริ่มต้นสิ่งดีๆในปีใหม่นี้ก็เริ่มทำเลย เวลาผ่านไปเร็ว
ไม่ต้องรอปีใหม่ปีหน้านะครับ เพราะจริงๆแล้วก็ผลัดปีมาตั้งแต่ปีที่แล้วละสิ(เรารู้นะ)
และแน่นอนที่สุดช่วงนี้อากาศเริ่มมีความเย็นเข้ามาปกคลุมเพิ่มมากขึ้นก็อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะครับ
ตามสโลแกน อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดีกันทุกคน(โบร้ยยยย)
กลับมาสู่หัวข้อเรื่องที่เราถกกันกับเรื่อง
คนไข้แบบนี้ ..... ซึ่งก็ต้องขอบพระคุณท่านผู้อ่านที่เสียเวลามาอ่านพื้นที่ตรงนี้บ้างนะครับ
อย่างน้อยก็เป็นการพิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าคนไทยไม่ได้อ่านหนังสือน้อยกว่า 8 บรรทัดนะว้อย....โฮะๆ(อย่างน้อยก็คนที่อ่านกระทู้นี้แหละ)
ก่อนอื่นชี้แจงในบางประเด็นนะครับเผื่อยังมีผู้อ่านหลายท่านเข้าใจผิด
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยากนำมาเล่าสนุกๆนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะมาต่อว่าคนไข้คนนั้น
งอนคนไข้คนนี้ แหมมมมมมมม คนไข้ก็คือคนไข้ละครับมายังไงก็ต้องรักษา เพียงแต่นำมาเล่าสู่กันฟังเฉยๆว่า
ชีวิตความเป็นหมอเนี่ยก็ต้องพบเจอคนไข้หลากหลายรูปแบบเช่นกัน
ใครยังไม่รู้ว่าเขียนขึ้นมาทำไมก็ตามไปดู แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้กันได้ที่
ต่อด้วย
ของเค้าดีนะ (โว๊ะ เขียนเองยอตัวเอง)
กลับเข้าสู่เรื่องราวถัดไปกันเลยดีกว่าครับ
เฉพาะเรื่องคนไข้ที่มาเจอหมอเนี่ยน่าจะเขียนได้หลายภาคอยู่เพราะมีหลายรูปแบบเหลือเกินมาลุยกันต่อเลยดีกว่าเนาะ
3. คนไข้ที่เชื่อว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง
“เงิน”
เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของเรา ท่านเห็นด้วยไหมครับ
หลายๆคนบอกเลยว่าเงินเนี่ยเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเพราะจะนำมาซึ่งปัจจัย
4 ที่เหลือได้ ยิ่งมีเงินเยอะ ตัวเลือกในชีวิตก็จะมากขึ้น
โอกาสก็จะมากขึ้น ความสะดวกสบาย ชีวิตที่ว่ากันว่าเป็นชีวิตที่ดี ก็จะตามมา
หลายๆคนที่กำลังอ่านกระทู้ผมอยู่ในตอนนี้ ไม่ว่าจะแอบอ่านในที่ทำงาน(รู้ด้วย !!)
อ่านที่บ้าน(ไม่ได้อ่านในที่ทำงานว้อย!!) อ่านในมือถือ(เปิดมาเจอกระทู้นี้พอดีเฉยๆเถอะ)
ก็ทำงานเพราะอยากได้เงินนี่ละครับ
เงินเป็นปัจจัยที่
“สำคัญ” ในชีวิตครับ แต่ “ที่สุด” หรือเปล่าคงแล้วแต่มุมมอง
แล้วแต่การใช้ชีวิตของแต่ละคน
แต่คนไข้แบบหนึ่งที่ถือได้ว่าเวลาหมอเจอแล้วไม่รู้จะพูดยังไงต่อคือกลุ่มคนไข้แบบนี้ครับ
คนไข้ที่เชื่อว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง
ในกระบวนการการรักษา
ณ ปัจจุบัน คงต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่า เงิน มีส่วนในการรักษา
และอำนวยให้การรักษามีความสะดวกมากขึ้น ง่ายขึ้น คนไข้สบายใจมากขึ้น
แต่เป้าหมายและผลลัพธ์บางครั้งอาจไม่ได้แตกต่างกันนะครับ
หลายๆคนเห็นด้วยและต้องร่วมออกความเห็นว่าจริงด้วยเท่าที่ผม
เท่าที่ดิฉันเคยไปรักษา การรักษาเอกชนกับรัฐบาลก็ต่างกัน
จ่ายเงินกับไม่จ่ายเงินก็ต่างกัน สิทธินู่นนั่นนี่โน้นน้าน รักษาไม่เหมือนกัน ทำไมละฉันมีสิทธิการรักษานะ
........
เอ่อ....ใจเย็นๆครับ
ก่อนที่จะเริ่มมีการเรียกร้องสิทธิการรักษาอะไรเกิดขึ้นต้องเรียนอย่างนี้ก่อนครับ
อย่างที่ผมบอก “เงิน มีส่วนในการรักษา และอำนวยให้การรักษามีความสะดวกมากขึ้น
ง่ายขึ้น คนไข้สบายใจมากขึ้น
แต่เป้าหมายและผลลัพธ์บางครั้งอาจไม่ได้แตกต่างกันนะครับ” (copy
paste เห็นๆ)
สมมติให้เห็นเป็นรูปธรรมง่ายขึ้น
สมมติว่าคนไข้ต้องมีการผ่าตัดในช่องท้องอย่างหนึ่ง
โดยใช้การส่องกล้องกับไม่ส่องกล้อง(เปิดผ่านหน้าท้องเข้าไปโดยตรง)
แน่นอนการส่องกล้อง(โดยสิทธิในบางการผ่าตัดผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายค่า
กล้องเพิ่ม)
อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เพราะต้องมีค่าอุปกรณ์ ค่ากล้อง
ค่าทำความสะอาด
เจ้าหน้าที่ ฯลฯ
เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเข้าไปโดยตรง(ไม่ต้องจ่ายเพิ่มค่า
กล้อง)ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะน้อยกว่า
ถ้าถามว่าผลการรักษาโรคหายเหมือนกันไหม
ก็คงต้องตอบว่า “หายเหมือนกัน” แต่แผลที่หน้าท้องของการส่องกล้องก็จะเล็กกว่า
ออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่า แต่แน่นอนครับ ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
ดังนั้น
การรักษาส่องกล้องในกรณีนี้จึงเหมือน option (ตัว
เลือกเสริม)
ยังกะโปรโมชั่นในมือถือ เพิ่มเข้าไปให้คนไข้
แล้วแต่คนไข้ว่าจะเลือกหรือไม่ก็ได้
ซึ่งจะให้รัฐบาลมาให้สิทธิการรักษาฟรีในกรณีนี้ทั้งหมด
ก็จะแบกภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหวครับ อาจต้องเก็บภาษีเพิ่มอีกหลายเท่าตัว
(เท่านี้งบประมาณด้านสาธารณสุขประเทศเราก็เยอะแยะจะแย่แล้ว)
ดังนั้น การที่คนไข้จ่ายเงินกับไม่จ่ายเงินในการรักษากรณีนี้
จึงเหมือนกับแค่ว่าเป็นอีกทางเลือกเพิ่มให้
แต่ถามว่าแล้วถ้าไม่เอา จะรักษาดีเหมือนกันเหรอ โรคหายเหมือนกันเหรอ
ก็คงต้องตอบว่า
“เหมือนกันครับ”
เปรียบเทียบเพิ่มเติมเอาให้เห็นชัดซะยิ่งกว่าชัด
การรักษาก็เหมือนกับการที่คุณเดินทางละครับ
สมมติจะเดินทางไปเชียงใหม่ (รักษาโรคให้หาย) ก็มีทางเลือกไปหลายแบบครับ
· เดินไป
· ขี่จักรยาน
· นั่งรถประจำทางฟรี
· นั่งรถทัวร์
· นั่งรถส่วนตัว
· นั่งเครื่องบิน
ซึ่ง
แต่ละทางเลือกก็จะแตกต่างกันครับ
ถ้าคุณรอนั่งรถประจำทางฟรี ไปถึงเชียงใหม่หรือไม่ ก็ถึงเหมือนกัน
แต่อาจจะช้าหน่อย
รอนานหน่อย ไม่ค่อยสะดวก เมื่อยก้น เจ็บริดสีดวงตอนรถกระแทก แต่ข้อดีคือ
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
แต่ถ้าคุณคิดจะนั่งเครื่องบิน แน่นอน เร็ว สะดวก สบาย
ไม่เจ็บริดสีดวง แต่ก็ต้องแลกกับการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
คุณรัฐบาลเองคงไม่สามารถออกค่าใช้จ่ายเพื่อให้คนทุกคนนั่งเครื่องบินได้ฟรี
หรอกว่าไหมครับ(แต่คืนภาษีรถคันแรกนะ.....เอ่ออย่าไปยุ่งกะการเมืองดีก่า)
แต่ถ้าถามว่าไม่ว่าจะนั่งเครื่องบิน
หรือนั่งรถประจำทางฟรี ไปถึงเชียงใหม่เหมือนกันหรือไม่ คำตอบคือ
“เหมือนกัน” ครับ
แต่ความสะดวกสบาย ความเร็ว ความพึงพอใจของคนไข้อาจจะแตกต่างกันบ้าง
อันนี้ต้องเข้าใจกันก่อน
แต่ในบางครั้ง “เงิน”
อาจช่วยให้ความสะดวกมากขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผลการรักษาเปลี่ยนนะครับ เป็นข้อพิสูจน์อย่างดีเลยว่า
“เงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง” นะจ๊ะ
ตัวอย่างคนไข้ที่เคยประสบ
คนไข้ชายอายุประมาณ 50 ปีครับ พาลุงตัวเองอายุประมาณ 80 ปลายๆ
มารักษาด้วยเรื่องไอ เหนื่อย เพลียกินข้าวไม่ได้มา 1 เดือนครับ
คุณหลานนี่เป็นนักธุรกิจใหญ่ทำงานอยู่อีกประเทศครับ
เท่าที่ดูรถที่ขับมานี่น่าจะหลายตังค์อยู่ ตรวจดูเบื้องต้น
สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปอด ก็นอนโรงพยาบาล
หลังจากพูดคุยและอธิบายกันเบื้องต้นเรื่องมะเร็งปอด
อยู่สักระยะ (ขออนุญาตตัดเนื่องจาก ถ้าเอามาหมด ตี 4 ก็อ่านไม่จบครับ
ก็บอกญาติว่าลุงน่าจะเป็นมะเร็งปอด
“หา !!!!!!!”
“ครับ ผมเข้าใจครับว่าคุณรู้สึกยังไง
แต่ว่าคุณเป็นญาติ หมอก็อยากจะให้คุณรับทราบอาการไว้ด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลคนไข้
เพราะคุณเองคงเข้าใจตัวคนไข้มากกว่าหมอ”
“โรคนี้หายไหม”
“ดูจากระยะแล้ว น่าจะเป็นระยะสุดท้ายแล้วครับ”
“ไม่หายเหรอ”
“ยากมากครับ”
“มียาไหม เข็มละเป็นล้านผมก็จะสู้”
“ณ ตอนนี้คิดว่าไม่มีครับ”
“เคมีบำบัด ฉายแสง ผ่าตัด หรืออะไรก็ได้
ที่จะทำให้หาย”
“การ
รักษาหายเป็นเรื่องที่ยากมากครับ
การรักษาที่จะทำให้ได้ตอนนี้คือรักษาตามอาการเฉยๆ
แล้วก็คิดถึงเรื่องทางจิตใจก่อน ตัวคนไข้เองโรคประจำตัวอื่นก็มากอยู่
การผ่าตัด ฉายแสง หรือเคมีบำบัดเพิ่มเติม คงต้องดูตัวคนไข้ด้วย”
“หมอไม่ต้องสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายนะ ผมไหว”
“ประเด็นไม่ได้อยู่ที่เรื่องค่าใช้จ่ายครับ
แต่การรักษา ณ ตอนนี้ และประเมินจากคนไข้ ตามความเห็นของผมการรักษาแบบนี้น่าจะเหมาะสมที่สุด แต่ก็ต้องปรึกษากับทางญาติร่วมด้วย”
“ผมจะเปลี่ยนโรงพยาบาล!!!
ผมจะเข้าเอกชน”
“..................................” อึ้งและประมวลผลอยู่สักครู่
“ครับ ถ้าเป็นความประสงค์ของญาติ”
ถ้าท่านเป็นหมอ
คนไข้แบบนี้............
จากนั้นก็เห็นคุณหลานคุยโทรศัพท์กับใครไม่รู้ครับ
เหมือนกับว่าโรงพยาบาลนี้รักษาไม่ได้ จะไปรักษาที่อื่น และประมาณ 2 สัปดาห์ถัดมาครับ คุณลุงก็ส่งตัวกลับมาที่โรงพยาบาลเดิมอีกครั้งเพราะ
ทางเอกชนดูแลต่อไม่ไหว เห็นว่าไปมาหลายที่ครับ ก่อนกลับมาที่โรงพยาบาลเดิม
แต่คราวนี้ดูญาติจะรับได้มากกว่าเดิมนิดหน่อย
หรือมีอีกตัวอย่างครับ
มาสไตล์ เงินซื้อได้ทุกอย่างเหมือนกัน
คนไข้ผู้ชาย 60 ต้นๆครับ
มารับยาเบาหวานมาเจาะน้ำตาล แล้วก็มารักษาโรคข้อเข้าเสื่อม
“น้ำตาลวันนี้ 256 นะครับ”
“อะไร !!! ทำไมมันขึ้นทุกวันๆที่มาเอายาเลยละ”
“คนไข้กินยาตามที่บอกรึเปล่าครับ”
“กินสิ ยาตั้งแพง มาเอาทุกรอบผมจ่ายเงินสดนะ
เบิกก็ไม่ได้”
“คนไข้อยู่บ้านกินของหวานบ่อยไหมครับ”
“ไม่ค่อยได้กินหรอก”
(ลูกสาวหน้าตาน่ารัก..แฮ่ม) “พ่อ......ไม่ได้กินอะไร เอะอะกิน ทองหยอด
ลูกชุบตลอด ข้าวเหนียวมะม่วงก็กิน ทุเรียนก็กิน เหล้าก็ยังกิน”
“ก็นิดหน่อยๆ แต่ยาแพงกินก็ต้องดีสิ
อะไรกันยากินแล้วก็ยังห้ามของหวานอีก”
“ยาก็ช่วยส่วนหนึ่งนะครับ
แต่คนไข้ก็ต้องระวังเรื่องของหวานด้วย เหล้าด้วย แล้วก็ต้องออกกำลังกายด้วยนะ”
“นี่หมอผมแอบถามหน่อยสิ ยาผมเหมือนยาที่คนไข้เค้าไม่จ่ายตังค์รึเปล่า”
“โดยฤทธิ์ยาเหมือนกันครับ ต่างกันที่จำนวนครั้งการกินและผลข้างเคียงนิดหน่อย”
“อ่าว แล้วมันต่างกันยังไง”
“เช่นยาแก้ปวดแก้อักเสบตัวนี้ถ้าของใช้สิทธิเบิก
อาจมีผลข้างเคียงคือกัดกระเพาะ ต้องกินหลังอาหารทันทีเท่านั้น และกินวันละ 2-3
ครั้ง แต่ของที่คนไข้ซื้อนี่ กินวันละเม็ดและฤทธิ์กัดกระเพาะจะมีได้แต่น้อยกว่า
ไม่ได้แปลว่าไม่มี”
(ลูกสาว)“ก็เหมือนซื้อบ้านละพ่อ....บ้านแพง
บ้านถูก ก็อยู่ได้เหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่ความสวย สะดวกสบาย
เฟอร์นิเจอร์อะไรยังงี้ไง” (น่ารักแล้วยังฉลาด.....แฮ่ม)
ถ้าท่านเป็นหมอ
คนไข้แบบนี้............
ดังที่คุณลูกสาวเปรียบเปรยไว้ละครับ
ว่ายาที่ต่างกันก็เหมือนซื้อบ้าน ซื้อรถละครับ ราคาต่างกันแต่ก็อยู่ได้เหมือนกัน
ขับขี่ได้เหมือนกันแต่อาจจะแตกต่างกันที่องค์ประกอบด้านอื่น เฟอร์นิเจอร์
การตกแต่ง สวนหลังบ้าน ล้อแมกซ์ เครื่องเสียง อาจจะต่างกัน
ยา
ที่แพงกว่าก็ไม่ได้แปลว่าจะดีกว่าเสมอไป
ผมว่าการรักษาคนไข้นั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ครับ
คนไข้แต่ละคนแม้จะเป็นโรคเดียวกันการรักษาก็แตกต่างกัน ใช้ยาแตกต่างกัน
บางคนใช้ยาถูกดีกว่ายาแพง บางคนใช้ยาแพงดีกว่ายาถูก
การรักษาจึงเป็นในรูปแบบเฉพาะบุคคล
คนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
แต่อย่างน้อยเชื่อได้อย่างหนึ่งครับ
ไม่ว่าจะมีเงินหรือไม่มีเงินจุดประสงค์ของการรักษาคนไข้สำหรับหมอทุกคนคืออยากให้คนไข้ทุกคนมีสุขภาพดีและหายจากโรคภัยไข้เจ็บแน่นอน
(จบหล่อตลอด) จบสุดท้ายกับรูปที่ว่ากันว่าเป็นสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ครับ
credit : http://blog.msu.ac.th/?p=770
ไว้มาต่อคราวหน้า (หะ !! ยังจะมีอยู่อีก)